เขตแดน,แนวพรมแดน
ขอบเขตจำกัดที่รัฐใช้อำนาจศาลเหนือดินแดน เขตแดนหรือแนวพรมแดนที่ใช้แบ่งเขตอำนาจศาลมิใช่จะเกี่ยวข้องเฉพาะส่วนที่เป็นพื้นผิวโลกเท่านั้น แต่ทว่าจะเกี่ยวข้องกับส่วนที่เป็นน้ำ(เรียกว่าน่านน้ำอาณาเขต) ส่วนที่เป็นอากาศ(เรียกว่าน่านฟ้า) และส่วนที่เป็นทรัพยากรใต้พื้นดิน เขตแดนหรือพรมแดนนี้อาจจะถูกกำหนดขึ้นโดยการเจรจา การอนุญาโตตุลาการ คำวินิจฉัยของศาล การออกเสียงประชามติ การจัดสรรให้โดยองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ เป็นต้น หรือเป็นการโอนให้โดยการซื้อหรือโดยสงคราม เขตแดนหรือแนวพรมแดนนี้มีอยู่หลายประเภทและมีการแบ่งตามเหตุผลต่างๆดังนี้ คือ (1) เขตแดนหรือแนวพรมแดนที่แบ่งแยกกันตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น แม่น้ำ ภูเขา เป็นต้น (2) เขตแดนหรือพรมแดนที่แบ่งแยกตามวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น ความแตกต่างระหว่างชุมชนที่ใช้เป็นพื้นฐานแยกพรมแดนระหว่างอินเดีย(ซึ่งมีวัฒนธรรมแบบฮินดู) กับปากีสถาน(ซึ่งมีวัฒนธรรมแบบมุสลิม) (3) เขตแดนหรือพรมแดนที่พิจารณาในแง่ประวัติศาสตร์และการเมือง ตัวอย่างเช่น ในกรณีของหลายรัฐที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทวีปแอฟริกา ซึ่งเขตแดนหรือพรมแดนของรัฐต่างๆเหล่านี้มีการจัดแบ่งกันโดยชาติมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมจากทวีปยุโรป และ (4) เขตแดนหรือพรมแดนที่จัดตั้งขึ้นมาโดยพิจารณาในแง่ดุลยภาพทางทหาร ตัวอย่างเช่น พรมแดนระหว่างอิสราเอลกับหมู่ประเทศเพื่อนบ้าน หรือพรมแดนระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้
ความสำคัญ เขตแดนหรือพรมแดนนี้เป็นสัญลักษณ์ของเอกราชและอำนาจของชาติ และเป็นที่มาของความตึงเครียดและความขัดแย้งระหว่างประเทศด้วย ตัวอย่างกรณีเขตแดนหรือแนวพรมแดนที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในปัจจุบัน เช่น พรมแดนระหว่างเยอรมนีตะวันออกกับเยอรมนีตะวันตก((ก่อนรวมเป็นประเทศเดียว) พรมแดนระหว่างอิรักกับอิหร่าน พรมแดนระหว่างสหภาพโซเวียตกับจีน พรมแดนระหว่างจีนกับอินเดีย พรมแดนระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย จอร์แดน และอียิปต์ พรมแดนระหว่างโซมาเลียกับเอธิโอเปียและคีนยา ความสำคัญของพรมแดนของชาติในแง่ของการป้องกันชาตินั้นจะแตกต่างกันไปตามระดับของเทคโนโลยีทางการทหารที่เกี่ยวข้อง พรมแดนที่มีลักษณะเป็นภูเขา เป็นแม่น้ำ หรือเป็นห้วยหนองคลองบึงต่างๆนั้น อาจจะพิจารณาว่ามีความสำคัญในกรณีที่เป็นสงครามในรูปแบบปกติ คือ จะมีความสำคัญไปช่วยจำกัดความรุนแรงเมื่อมีการปฏิบัติการทิ้งระเบิดทางอากาศได้ แต่จะไม่มีความสำคัญใดๆเลยหากเป็นการใช้ยิงด้วยขีปนาวุธนิวเคลียร์
พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์และประชากร อังกฤษ-ไทย :รวบรวมและเรียบเรียง โดย พลเรือตรี รศ.ทองใบ ธีรานันทางกูร
Tuesday, October 6, 2009
Buffer State
รัฐกันชน
รัฐอ่อนแอตั้งอยู่ระหว่างหรือที่พรมแดนของรัฐที่เข้มแข็ง ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงให้แก่รัฐที่เข้มแข็งนั้น รัฐกันชนต่างๆมักจะอยู่ได้โดยความอนุเคราะห์ของรัฐเพื่อนบ้านที่มีอำนาจมากกว่า ซึ่งต้องการจะให้เป็น”เขตกันกระทบ” ระหว่างรัฐที่มีอำนาจมากนั้นกับรัฐที่เป็นคู่แข่ง
ความสำคัญ รัฐกันกระทบต่างๆจะทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและด้านการทหารของเพื่อนบ้านที่มีอำนาจมาก และจะทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับใหญ่โดยวิธีช่วยลดโอกาสการเผชิญหน้าและการขัดแย้งโดยตรงระหว่างรัฐที่มีอำนาจมากกับรัฐคู่แข่งขันนั้น ดังจะเห็นได้ว่า เป็นเวลาช้านานแล้วที่อัฟกานิสถาน ทิเบต และเปอร์เซียได้ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของอังกฤษ โดยเป็นรัฐกันชนระหว่างอินเดีย(ของอังกฤษ) กับรัสเซีย และนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา รัฐต่างๆในแถบยุโรปตอนกลาง มักได้ชื่อว่าเป็นเขตรัฐกันชนระหว่างยุโรปตะวันตกกับสหภาพโซเวียต หรือในทางกลับกันก็เป็นเช่นเดียวกัน
รัฐอ่อนแอตั้งอยู่ระหว่างหรือที่พรมแดนของรัฐที่เข้มแข็ง ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงให้แก่รัฐที่เข้มแข็งนั้น รัฐกันชนต่างๆมักจะอยู่ได้โดยความอนุเคราะห์ของรัฐเพื่อนบ้านที่มีอำนาจมากกว่า ซึ่งต้องการจะให้เป็น”เขตกันกระทบ” ระหว่างรัฐที่มีอำนาจมากนั้นกับรัฐที่เป็นคู่แข่ง
ความสำคัญ รัฐกันกระทบต่างๆจะทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและด้านการทหารของเพื่อนบ้านที่มีอำนาจมาก และจะทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับใหญ่โดยวิธีช่วยลดโอกาสการเผชิญหน้าและการขัดแย้งโดยตรงระหว่างรัฐที่มีอำนาจมากกับรัฐคู่แข่งขันนั้น ดังจะเห็นได้ว่า เป็นเวลาช้านานแล้วที่อัฟกานิสถาน ทิเบต และเปอร์เซียได้ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของอังกฤษ โดยเป็นรัฐกันชนระหว่างอินเดีย(ของอังกฤษ) กับรัสเซีย และนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา รัฐต่างๆในแถบยุโรปตอนกลาง มักได้ชื่อว่าเป็นเขตรัฐกันชนระหว่างยุโรปตะวันตกกับสหภาพโซเวียต หรือในทางกลับกันก็เป็นเช่นเดียวกัน
Demographic Cycle
วงจรทางประชากรศาสตร์
กระแสของการเปลี่ยนแปลงในการเกิดและการตาย ที่ส่งผลกระทบต่อขนาดและส่วนประกอบของสังคม ขณะที่สังคมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี วงจรทางประชากรศาสตร์นี้จะดำเนินไปใน 3 ขั้นตอนดังนี้ (1) ขั้นตอนที่ดำเนินจากฐานก่อนที่จะพัฒนาเป็นสังคมแบบอุตสาหกรรม ซึ่งช่วงนี้จะมีเสถียรภาพทางด้านประชากรเมื่อเทียบกับขั้นตอนอื่น (2) ขั้นตอนหัวเลี้ยวหัวต่อ คือ ขั้นตอนที่ประชากรล้นประเทศ (2) ขั้นตอนสุดท้าย คือ ขั้นตอนที่อัตราการเติบโตของประชากรเชื่องช้าลง ประชากรมีเสถียรภาพ และในบางประเทศอาจจะถึงกับมีจำนวนประชากรลดลงด้วยซ้ำไป
ความสำคัญ ในทางประวัติศาสตร์นั้น ขั้นตอนต่างๆในวงจรทางประวัติศาสตร์นี้ จะมีความเชื่อมโยงกับระดับของการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วย จากประสบการณ์ของประเทศต่างๆที่การปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรมได้เริ่มขึ้นแล้วนั้น ได้แสดงออกมาให้เราเห็นว่า ถึงแม้ว่าการปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรมนี้จะเอื้อประโยชน์สามารถเกื้อหนุนประชากรได้จำนวนมากๆและทำให้คนเหล่านี้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นได้ก็จริง แต่ทว่าเมื่อมีการปรับปรุงความกินดีอยู่ดีทางเศรษฐกิจขึ้นมาแล้วนี้ ในที่สุดจะส่งผลให้อัตราการเกิดของประชากรลดลงมา จากประสบการณ์นี้เองทำให้ประเทศต่างๆที่มีประชากรล้นประเทศต่างหันมาเน้นย้ำให้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ให้มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม จากการที่มีประชากรเพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมากและเกิดการปฏิวัติความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นมามากในขณะเดียวกันในสังคมต่างๆทั่วโลก จึงประกอบกันเป็นเรื่องสร้างความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้นแก่ประเทศที่พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม แก่องค์การในระดับภูมิภาค และแก่องค์การชำนัญพิเศษต่างๆของสหประชาชาติ จากการสังเกตเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีวงจรทางประวัติศาสตร์ทำงานอยู่ดังกล่าวมาแล้วนั้น จึงทำให้เจ้าหน้าที่องค์การต่างๆทั่วโลกสามารถพยากรณ์ผลที่จะตามมาจากแนวโน้มทางประชากรศาสตร์ในปัจจุบันนี้ได้ ส่วนการที่จะสามารถพัฒนานโยบายทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ให้สัมพันธ์กันระหว่างประชากรกับสภาพแวดล้อมได้สำเร็จหรือไม่นั้น ก็จะเป็นปัญหาสำคัญในระยะยาวที่โลกเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้
กระแสของการเปลี่ยนแปลงในการเกิดและการตาย ที่ส่งผลกระทบต่อขนาดและส่วนประกอบของสังคม ขณะที่สังคมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี วงจรทางประชากรศาสตร์นี้จะดำเนินไปใน 3 ขั้นตอนดังนี้ (1) ขั้นตอนที่ดำเนินจากฐานก่อนที่จะพัฒนาเป็นสังคมแบบอุตสาหกรรม ซึ่งช่วงนี้จะมีเสถียรภาพทางด้านประชากรเมื่อเทียบกับขั้นตอนอื่น (2) ขั้นตอนหัวเลี้ยวหัวต่อ คือ ขั้นตอนที่ประชากรล้นประเทศ (2) ขั้นตอนสุดท้าย คือ ขั้นตอนที่อัตราการเติบโตของประชากรเชื่องช้าลง ประชากรมีเสถียรภาพ และในบางประเทศอาจจะถึงกับมีจำนวนประชากรลดลงด้วยซ้ำไป
ความสำคัญ ในทางประวัติศาสตร์นั้น ขั้นตอนต่างๆในวงจรทางประวัติศาสตร์นี้ จะมีความเชื่อมโยงกับระดับของการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วย จากประสบการณ์ของประเทศต่างๆที่การปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรมได้เริ่มขึ้นแล้วนั้น ได้แสดงออกมาให้เราเห็นว่า ถึงแม้ว่าการปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรมนี้จะเอื้อประโยชน์สามารถเกื้อหนุนประชากรได้จำนวนมากๆและทำให้คนเหล่านี้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นได้ก็จริง แต่ทว่าเมื่อมีการปรับปรุงความกินดีอยู่ดีทางเศรษฐกิจขึ้นมาแล้วนี้ ในที่สุดจะส่งผลให้อัตราการเกิดของประชากรลดลงมา จากประสบการณ์นี้เองทำให้ประเทศต่างๆที่มีประชากรล้นประเทศต่างหันมาเน้นย้ำให้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ให้มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม จากการที่มีประชากรเพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมากและเกิดการปฏิวัติความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นมามากในขณะเดียวกันในสังคมต่างๆทั่วโลก จึงประกอบกันเป็นเรื่องสร้างความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้นแก่ประเทศที่พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม แก่องค์การในระดับภูมิภาค และแก่องค์การชำนัญพิเศษต่างๆของสหประชาชาติ จากการสังเกตเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีวงจรทางประวัติศาสตร์ทำงานอยู่ดังกล่าวมาแล้วนั้น จึงทำให้เจ้าหน้าที่องค์การต่างๆทั่วโลกสามารถพยากรณ์ผลที่จะตามมาจากแนวโน้มทางประชากรศาสตร์ในปัจจุบันนี้ได้ ส่วนการที่จะสามารถพัฒนานโยบายทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ให้สัมพันธ์กันระหว่างประชากรกับสภาพแวดล้อมได้สำเร็จหรือไม่นั้น ก็จะเป็นปัญหาสำคัญในระยะยาวที่โลกเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้
Demographic Cycle : Stage One
วงจรทางประชากรศาสตร์ : ขั้นตอนที่ 1
แบบขั้นตอนทางประชากรศาสตร์ช่วงก่อนที่จะมีการปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งมักจะมีลักษณะพิเศษ คือ ทั้งอัตราการเกิดและอัตราการตายจะสูง ในขั้นตอนที่ 1 นี้อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์จะต่ำมาก(คือ ประมาณ 30 ปี) อัตราการตายของเด็กทารกจะสูงมากและการเพิ่มของประชากรมีลักษณะคงที่ไปเรื่อยๆ ลักษณะของประชากรในแบบก่อนจะมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมนี้ ก็คือสังคมตะวันตกในช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมและสังคมดั้งเดิมของทวีปเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกาในช่วงก่อนทศวรรษปี 1930
ความสำคัญ สังคมในขั้นตอนที่ 1 นี้จะมีลักษณะที่อัตราการเติบโตของประชากรอยู่ในระดับต่ำด้วยเหตุผลดังนี้ คือ มาตรฐานการครองชีพต่ำ เศรษฐกิจเป็นแบบเกษตรกรรมพอเพียง มาตรฐานทางโภชนาการยังไม่ดี ไม่มีการใช้ยารักษาโรคสมัยใหม่ และไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน ส่วนระบบครอบครัวที่สังคมต้องการ คือ ระบบครอบครัวใหญ่มีลูกหลานมากๆเพราะต้องการแรงงานเด็กให้มาช่วยทำงานในครอบครัวบ้าง ให้เด็กมาช่วยเลี้ยงดูในเวลาที่มารดาบิดาแก่เฒ่าแล้วบ้าง นอกจากนี้แล้วที่ต้องการให้มีลูกเกิดมามากๆนั้นก็เพราะเด็กจำนวนหนึ่งจะเสียชีวิตก่อนเติบโตเป็นผู้ใหญ่เพราะโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนจึงจำเป็นต้องต้องมีลูกไว้มากๆเป็นการเผื่อไว้นั่นเอง ในสังคมตามขั้นตอนที่ 1 นี้จะมีลักษณะอย่างอื่นๆอีก คือ คนจะแต่งงานกันเมื่อตอนที่อายุยังน้อยๆ สถานภาพของสตรีจะด้อยกว่าบุรุษ และคนอ่านออกเขียนได้มีเกณฑ์อยู่ในระดับต่ำมาก ในปัจจุบันสังคมตามขั้นตอนที่ 1 นี้ได้หมดสิ้นไปจากโลกนี้แล้ว และสังคมเหล่านี้ได้เคลื่อนไหวเข้าสู่ขั้นตอนทางประชาศาสตร์ขั้นตอนที่ 2 แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามของชาติต่างๆเองบ้าง จากความพยายามในระดับนานาชาติบ้าง
แบบขั้นตอนทางประชากรศาสตร์ช่วงก่อนที่จะมีการปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งมักจะมีลักษณะพิเศษ คือ ทั้งอัตราการเกิดและอัตราการตายจะสูง ในขั้นตอนที่ 1 นี้อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์จะต่ำมาก(คือ ประมาณ 30 ปี) อัตราการตายของเด็กทารกจะสูงมากและการเพิ่มของประชากรมีลักษณะคงที่ไปเรื่อยๆ ลักษณะของประชากรในแบบก่อนจะมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมนี้ ก็คือสังคมตะวันตกในช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมและสังคมดั้งเดิมของทวีปเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกาในช่วงก่อนทศวรรษปี 1930
ความสำคัญ สังคมในขั้นตอนที่ 1 นี้จะมีลักษณะที่อัตราการเติบโตของประชากรอยู่ในระดับต่ำด้วยเหตุผลดังนี้ คือ มาตรฐานการครองชีพต่ำ เศรษฐกิจเป็นแบบเกษตรกรรมพอเพียง มาตรฐานทางโภชนาการยังไม่ดี ไม่มีการใช้ยารักษาโรคสมัยใหม่ และไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน ส่วนระบบครอบครัวที่สังคมต้องการ คือ ระบบครอบครัวใหญ่มีลูกหลานมากๆเพราะต้องการแรงงานเด็กให้มาช่วยทำงานในครอบครัวบ้าง ให้เด็กมาช่วยเลี้ยงดูในเวลาที่มารดาบิดาแก่เฒ่าแล้วบ้าง นอกจากนี้แล้วที่ต้องการให้มีลูกเกิดมามากๆนั้นก็เพราะเด็กจำนวนหนึ่งจะเสียชีวิตก่อนเติบโตเป็นผู้ใหญ่เพราะโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนจึงจำเป็นต้องต้องมีลูกไว้มากๆเป็นการเผื่อไว้นั่นเอง ในสังคมตามขั้นตอนที่ 1 นี้จะมีลักษณะอย่างอื่นๆอีก คือ คนจะแต่งงานกันเมื่อตอนที่อายุยังน้อยๆ สถานภาพของสตรีจะด้อยกว่าบุรุษ และคนอ่านออกเขียนได้มีเกณฑ์อยู่ในระดับต่ำมาก ในปัจจุบันสังคมตามขั้นตอนที่ 1 นี้ได้หมดสิ้นไปจากโลกนี้แล้ว และสังคมเหล่านี้ได้เคลื่อนไหวเข้าสู่ขั้นตอนทางประชาศาสตร์ขั้นตอนที่ 2 แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามของชาติต่างๆเองบ้าง จากความพยายามในระดับนานาชาติบ้าง
Democratic Cycle : Stage Two
วงจรทางประวัติศาสตร์ : ขั้นตอนที่ 2
แบบของวงจรทางประชากรศาสตร์ที่มีลักษณะพิเศษ คือ ประชากรล้นประเทศ ในขั้นตอนที่ 2 นี้ อัตราการเกิดจะสูงแต่อัตราการตายจะลดลงมาก ซึ่งก็จะส่งผลให้การเจริญเติบโตของประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว อธิบายความได้ว่า เมื่ออัตราการตายของคนในวัยทารกลดลงมากๆก็จะส่งผลให้มีคนในวัยหนุ่มสาวเพิ่มขึ้นมามาก เมื่อมีคนในวัยหนุ่มสาวมากเช่นนี้ก็จะส่งผลต่อไปให้มีการผลิตลูกขึ้นมามาก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วอัตราเพิ่มของคนตามธรรมชาติก็จะสูงตามขึ้นไปด้วย แต่เนื่องจากว่าอายุขัยของคนมิได้เพิ่มขึ้นมาแต่อย่างใดจึงมีแนวโน้มว่าสังคมจะประกอบไปด้วยคนหนุ่มคนสาวแทบทั้งนั้น อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีชนิดเดียวกันที่ได้ช่วยสร้างสังคมให้เป็นอุตสาหกรรมนั้น ก็จะเป็นตัวการไปทำให้ประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นมา โดยจะไปทำให้อัตราการตายลดลงมาเรื่อยๆทั้งนี้เพราะได้มีการปรับปรุงด้านยารักษาโรคและด้านสุขอนามัยนั่นเอง
ความสำคัญ ขั้นที่ประชากรล้นประเทศ หรือขั้นตอนที่ 2 ของวงจรทางประชากรศาสตร์นี้ เมื่อผนวกเข้ากับการเกิดการปฏิวัติทางด้านการคาดหวังสูงขึ้นๆด้วยแล้วนี้ ก็ยิ่งประกอบกันเข้าเป็นปัญหาที่รุนแรงทั้งในระดับชาติและในระดับนานาชาติเลยทีเดียว ผู้คนในประเทศต่างๆเหล่านี้มิใช่ว่าจะมีเฉพาะคนที่เรียกร้องสิ่งดีๆให้แก่ชีวิตมากยิ่งกว่าแต่ก่อนเท่านั้น แต่ยังมีพวกที่ต้องการจะให้รีบเร่งปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้นซึ่งพวกนี้ก็มีมากกว่าแต่เดิมอีกเหมือนกัน เมื่อเส้นเคิร์ฟการคาดหวังของคนเหล่านี้ขึ้นสูงรวดเร็วกว่าเส้นเคิร์ฟของสิ่งที่พวกเขาได้รับการตอบสนอง ก็จึงได้เกิดช่องว่างระหว่างเส้นทั้งสองนี้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น”ช่องว่างของความไม่สมหวัง”ก็น่าจะได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการที่มีประชากรเพิ่มขึ้นมาพร้อมๆกับที่การคาดหวังของคนเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้นมาในขณะเดียวกันนี้ ก็จะก่อให้เกิดสภาวะการตึงตัวระหว่างทรัพยากรที่มีอยู่กับสิ่งที่รัฐบาลจะต้องจัดหาให้ตามความเรียกร้อง ซึ่งรัฐบาลเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วก็คือรัฐบาลของรัฐที่เกิดใหม่และยังขาดประสบการณ์นั่นเอง ปัญหาและความข้องขัดใจที่เป็นผลมาจากประเด็นนี้ก็คือ (1) เกิดความตึงเครียดความสับสนวุ่นวายภายในเพิ่มขึ้นและมีรัฐประหารบ่อยครั้งชึ้น (2) มีการปฏิบัติการระหว่างประเทศที่ขาดความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นเพื่อเบี่ยงเบนมวลชน(เป็นการชั่วคราว) จากปัญหาภายในประเทศ และ(3) มีการบีบประเทศพัฒนาแล้วให้มาช่วยเหลือในแผนพัฒนาประเทศในปริมาณมากๆแต่ก็ทำด้วยความระมัดระวังเพื่อมิให้เป็นการไปกระตุ้นคนในประเทศให้ต่อต้านประเทศที่ให้ความช่วยเหลือเหล่านี้ในขณะเดียวกันนั้นด้วย ช่องว่างระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาก็จะขยายกว้างออกไปมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศติดตามมา แต่ด้วยเหตุที่คนอยู่ในวัยทำงานมีจำนวนลดลงตั้งแต่แรกเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ดังนั้นคนที่จะทำงานเพื่อผลผลิตมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้นได้นั้นก็จะต้องทำงานหนักกว่าพวกที่อยู่ในวงจรประชากรศาสตร์อีก 2 ขั้นตอนนั้น นอกจากนี้แล้วคนหนุ่มคนสาวที่หางานทำไม่ได้จะมีสัดส่วนสูงขึ้นมากในสังคมขั้นตอนที่ 2 นี้ ซึ่งก็จะเป็นตัวการไปเพิ่มระดับความตึงเครียดและแรงผลักดันให้เกิดการปฏิวัติขึ้นมาได้
แบบของวงจรทางประชากรศาสตร์ที่มีลักษณะพิเศษ คือ ประชากรล้นประเทศ ในขั้นตอนที่ 2 นี้ อัตราการเกิดจะสูงแต่อัตราการตายจะลดลงมาก ซึ่งก็จะส่งผลให้การเจริญเติบโตของประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว อธิบายความได้ว่า เมื่ออัตราการตายของคนในวัยทารกลดลงมากๆก็จะส่งผลให้มีคนในวัยหนุ่มสาวเพิ่มขึ้นมามาก เมื่อมีคนในวัยหนุ่มสาวมากเช่นนี้ก็จะส่งผลต่อไปให้มีการผลิตลูกขึ้นมามาก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วอัตราเพิ่มของคนตามธรรมชาติก็จะสูงตามขึ้นไปด้วย แต่เนื่องจากว่าอายุขัยของคนมิได้เพิ่มขึ้นมาแต่อย่างใดจึงมีแนวโน้มว่าสังคมจะประกอบไปด้วยคนหนุ่มคนสาวแทบทั้งนั้น อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีชนิดเดียวกันที่ได้ช่วยสร้างสังคมให้เป็นอุตสาหกรรมนั้น ก็จะเป็นตัวการไปทำให้ประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นมา โดยจะไปทำให้อัตราการตายลดลงมาเรื่อยๆทั้งนี้เพราะได้มีการปรับปรุงด้านยารักษาโรคและด้านสุขอนามัยนั่นเอง
ความสำคัญ ขั้นที่ประชากรล้นประเทศ หรือขั้นตอนที่ 2 ของวงจรทางประชากรศาสตร์นี้ เมื่อผนวกเข้ากับการเกิดการปฏิวัติทางด้านการคาดหวังสูงขึ้นๆด้วยแล้วนี้ ก็ยิ่งประกอบกันเข้าเป็นปัญหาที่รุนแรงทั้งในระดับชาติและในระดับนานาชาติเลยทีเดียว ผู้คนในประเทศต่างๆเหล่านี้มิใช่ว่าจะมีเฉพาะคนที่เรียกร้องสิ่งดีๆให้แก่ชีวิตมากยิ่งกว่าแต่ก่อนเท่านั้น แต่ยังมีพวกที่ต้องการจะให้รีบเร่งปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้นซึ่งพวกนี้ก็มีมากกว่าแต่เดิมอีกเหมือนกัน เมื่อเส้นเคิร์ฟการคาดหวังของคนเหล่านี้ขึ้นสูงรวดเร็วกว่าเส้นเคิร์ฟของสิ่งที่พวกเขาได้รับการตอบสนอง ก็จึงได้เกิดช่องว่างระหว่างเส้นทั้งสองนี้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น”ช่องว่างของความไม่สมหวัง”ก็น่าจะได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการที่มีประชากรเพิ่มขึ้นมาพร้อมๆกับที่การคาดหวังของคนเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้นมาในขณะเดียวกันนี้ ก็จะก่อให้เกิดสภาวะการตึงตัวระหว่างทรัพยากรที่มีอยู่กับสิ่งที่รัฐบาลจะต้องจัดหาให้ตามความเรียกร้อง ซึ่งรัฐบาลเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วก็คือรัฐบาลของรัฐที่เกิดใหม่และยังขาดประสบการณ์นั่นเอง ปัญหาและความข้องขัดใจที่เป็นผลมาจากประเด็นนี้ก็คือ (1) เกิดความตึงเครียดความสับสนวุ่นวายภายในเพิ่มขึ้นและมีรัฐประหารบ่อยครั้งชึ้น (2) มีการปฏิบัติการระหว่างประเทศที่ขาดความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นเพื่อเบี่ยงเบนมวลชน(เป็นการชั่วคราว) จากปัญหาภายในประเทศ และ(3) มีการบีบประเทศพัฒนาแล้วให้มาช่วยเหลือในแผนพัฒนาประเทศในปริมาณมากๆแต่ก็ทำด้วยความระมัดระวังเพื่อมิให้เป็นการไปกระตุ้นคนในประเทศให้ต่อต้านประเทศที่ให้ความช่วยเหลือเหล่านี้ในขณะเดียวกันนั้นด้วย ช่องว่างระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาก็จะขยายกว้างออกไปมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศติดตามมา แต่ด้วยเหตุที่คนอยู่ในวัยทำงานมีจำนวนลดลงตั้งแต่แรกเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ดังนั้นคนที่จะทำงานเพื่อผลผลิตมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้นได้นั้นก็จะต้องทำงานหนักกว่าพวกที่อยู่ในวงจรประชากรศาสตร์อีก 2 ขั้นตอนนั้น นอกจากนี้แล้วคนหนุ่มคนสาวที่หางานทำไม่ได้จะมีสัดส่วนสูงขึ้นมากในสังคมขั้นตอนที่ 2 นี้ ซึ่งก็จะเป็นตัวการไปเพิ่มระดับความตึงเครียดและแรงผลักดันให้เกิดการปฏิวัติขึ้นมาได้
Demographic Cycle : Stage Three
วงจรทางประชากรศาสตร์: ขั้นตอนที่ 3
ขั้นตอนที่ 3 ในแบบของวงจรทางประชากรศาสตร์จะมีลักษณะพิเศษ คือ อัตราการเพิ่มตามธรรมชาติของประชากรจะลดลง ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีลักษณะตรงกันข้ามกับขั้นตอนที่ 2 ข้างต้น กล่าวคือ ตามขั้นตอนที่ 2 นั้นอัตราการเกิดจะยังคงสูงอยู่ต่อไปแต่อัตราการตายจะลดลงมาก ส่วนในขั้นตอนที่ 3 นี้อัตราการตายจะค่อยลดลงแต่อัตราการเกิดจะลดลงอย่างรวดเร็ว ผลก็คืออายุเฉลี่ยของประชากรจะเพิ่มขึ้นมามาก ส่วนการที่อัตราการเกิดลดลงนี้ก็เนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงในทัศนะและในสถาบันทางสังคมต่างๆทำให้การมีครอบครัวใหญ่ๆเป็นที่ต้องการน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ ในขั้นตอนที่ 3 ของวงจรทางประชากรศาสตร์นี้มีความสัมพันธ์กับสังคมที่พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมแล้ว ตัวอย่างเช่น สังคมในสหภาพโซเวียต สังคมในสหรัฐอเมริกา สังคมในญี่ปุ่น และสังคมในยุโรป
ความสำคัญ ประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมในขั้นตอนที่ 3 ของวงจรประชากรศาสตร์นี้จะมีลักษณะพิเศษ คือ มีมาตรฐานการครองชีพสูง ทั้งนี้เนื่องจากว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของความฟุ่มเฟือยต่างๆ ในด้านการศึกษา และในด้านการเลี้ยงดูบุตรเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้แล้วงบประมาณแผ่นดินที่นำมาใช้ในโครงการรัฐสวัสดิการต่างๆก็จะถีบตัวสูงขึ้นมากด้วย ในประเทศต่างๆเหล่านี้ค่าใช้จ่ายที่จะต้องสิ้นเปลืองไปกับเด็กและเยาวชนที่ยังพึ่งตนเองไม่ได้นั้น อาจจะถือว่าเป็นการลงทุนในอนาคตได้ แต่ค่าใช้จ่ายที่ต้องสิ้นเปลืองไปกับกรณีของคนชรานั้นก็จะสูงขึ้นมามากและถือว่าเป็นหนี้สินทางสังคม นอกจากนี้แล้วประเทศต่างๆที่อยู่ในขั้นตอนที่ 3 นี้จะมีสังคมที่พวกคนในวัยทำงาน(มีอายุระหว่าง 15 –65 ปี) มีสัดส่วนมากกว่าในประเทศที่อยู่ใน 2 ขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ถึงแม้ผลิตภาพของแรงงานจะสูงก็จริงแต่เนื่องจากมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการนำเอาเครื่องจักรกลมาใช้ ก็จะทำให้การว่างงานมีอัตราสูงมาก เมื่อมีคนตกงานมากก็จะเกิดความเครียดและความวุ่นวายในสังคมตามมา ซึ่งก็จะเป็นตัวการไปทำลายขีดความสามารถทางด้านสร้างสรรค์ของผู้นำทางสังคมและของผู้นำภาครัฐบาล และจากการที่อัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องนี้ ก็จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสัมพันธภาพทางอำนาจ กล่าวคือ เมื่อประเทศอุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องมาพบกับปัญหาจำนวนประชากรของตนลดลงแต่ในขณะเดียวกันประชากรของประเทศทั้งหลายเกือบจะทั่วโลกมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้ไม่สามารถแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งในทรัพยากรโลกให้ได้มามากๆเหมือนชาติอื่นๆได้
ขั้นตอนที่ 3 ในแบบของวงจรทางประชากรศาสตร์จะมีลักษณะพิเศษ คือ อัตราการเพิ่มตามธรรมชาติของประชากรจะลดลง ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีลักษณะตรงกันข้ามกับขั้นตอนที่ 2 ข้างต้น กล่าวคือ ตามขั้นตอนที่ 2 นั้นอัตราการเกิดจะยังคงสูงอยู่ต่อไปแต่อัตราการตายจะลดลงมาก ส่วนในขั้นตอนที่ 3 นี้อัตราการตายจะค่อยลดลงแต่อัตราการเกิดจะลดลงอย่างรวดเร็ว ผลก็คืออายุเฉลี่ยของประชากรจะเพิ่มขึ้นมามาก ส่วนการที่อัตราการเกิดลดลงนี้ก็เนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงในทัศนะและในสถาบันทางสังคมต่างๆทำให้การมีครอบครัวใหญ่ๆเป็นที่ต้องการน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ ในขั้นตอนที่ 3 ของวงจรทางประชากรศาสตร์นี้มีความสัมพันธ์กับสังคมที่พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมแล้ว ตัวอย่างเช่น สังคมในสหภาพโซเวียต สังคมในสหรัฐอเมริกา สังคมในญี่ปุ่น และสังคมในยุโรป
ความสำคัญ ประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมในขั้นตอนที่ 3 ของวงจรประชากรศาสตร์นี้จะมีลักษณะพิเศษ คือ มีมาตรฐานการครองชีพสูง ทั้งนี้เนื่องจากว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของความฟุ่มเฟือยต่างๆ ในด้านการศึกษา และในด้านการเลี้ยงดูบุตรเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้แล้วงบประมาณแผ่นดินที่นำมาใช้ในโครงการรัฐสวัสดิการต่างๆก็จะถีบตัวสูงขึ้นมากด้วย ในประเทศต่างๆเหล่านี้ค่าใช้จ่ายที่จะต้องสิ้นเปลืองไปกับเด็กและเยาวชนที่ยังพึ่งตนเองไม่ได้นั้น อาจจะถือว่าเป็นการลงทุนในอนาคตได้ แต่ค่าใช้จ่ายที่ต้องสิ้นเปลืองไปกับกรณีของคนชรานั้นก็จะสูงขึ้นมามากและถือว่าเป็นหนี้สินทางสังคม นอกจากนี้แล้วประเทศต่างๆที่อยู่ในขั้นตอนที่ 3 นี้จะมีสังคมที่พวกคนในวัยทำงาน(มีอายุระหว่าง 15 –65 ปี) มีสัดส่วนมากกว่าในประเทศที่อยู่ใน 2 ขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ถึงแม้ผลิตภาพของแรงงานจะสูงก็จริงแต่เนื่องจากมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการนำเอาเครื่องจักรกลมาใช้ ก็จะทำให้การว่างงานมีอัตราสูงมาก เมื่อมีคนตกงานมากก็จะเกิดความเครียดและความวุ่นวายในสังคมตามมา ซึ่งก็จะเป็นตัวการไปทำลายขีดความสามารถทางด้านสร้างสรรค์ของผู้นำทางสังคมและของผู้นำภาครัฐบาล และจากการที่อัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องนี้ ก็จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสัมพันธภาพทางอำนาจ กล่าวคือ เมื่อประเทศอุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องมาพบกับปัญหาจำนวนประชากรของตนลดลงแต่ในขณะเดียวกันประชากรของประเทศทั้งหลายเกือบจะทั่วโลกมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้ไม่สามารถแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งในทรัพยากรโลกให้ได้มามากๆเหมือนชาติอื่นๆได้
Geographic Power Factor : Climate
ปัจจัยพลังอำนาจทางภูมิศาสตร์ : ภูมิอากาศ
ผลของสภาวะทางอากาศที่มีต่อพลังอำนาจชาติ สภาวะทางอากาศของรัฐหนึ่งรัฐใดส่วนใหญ่แล้วจะถูกกำหนดโดยลักษณะของลม ความเร็วของลม และอุณหภูมิของอากาศเป็นหลัก ในทางประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เราได้เห็นว่า การที่จะพัฒนาพลังอำนาจชาติให้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้นั้นจะทำได้เฉพาะในชาติที่อยู่ในภูมิภาคซึ่งมีสภาวะทางอากาศอย่างกลางๆพอสบายๆไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดนัก สภาวะทางอากาศที่ผิดแผกไปจากนี้มีทางเอาชนะได้ก็พอมีบ้าง แต่ถ้าเป็นกรณีที่สภาวะทางอากาศเป็นแบบสุดโต่งคือจ้อนจัดและหนาวจัดเสียแล้ว ชีวิตมนุษย์จะดำรงอยู่ได้ในสภาวะอากาศเช่นนี้ได้ ก็จำเป็นต้องใช้พลังงานและทรัพยากรมนุษย์สิ้นเปลืองมากกว่ากรณีที่อยู่ในภูมิภาคซึ่งมีภูมิอากาศแบบกลางๆ
ความสำคัญ ภูมิอากาศน่าจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในบรรดาองค์ประกอบอำนาจทางภูมิศาสตร์ เพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อขีดความสามารถของสังคมที่จะทำการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร และประกอบกิจการงานต่างๆ ผลของภูมิอากาศสามารถเปลี่ยนแปลงได้บ้างเหมือนกันแต่ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผืนแผ่นดินมีสภาพแห้งแล้งขาดฝน ก็อาจใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยได้ ส่วนในกรณีที่น้ำมีความเค็มใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกไม่ได้ ก็ใช้วิธีกลั่นให้เป็นน้ำจืดเสียก่อนอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งวิธีการทั้งสองอย่างนี้จะทำให้สามารถเอาชนะอุปสรรคในเรื่องขาดแคลนน้ำฝนได้ นอกจากนี้แล้วเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสามารถปรับปรุงสภาพการทำงานในภูมิภาคต่างๆที่มีอากาศหนาวเย็นมากๆของโลกได้อีกเหมือนกัน อย่างเช่นเดี๋ยวนี้ได้มีการพัฒนาธัญพืชและสัตว์ที่จะนำมาใช้เป็นอาหาร ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สามารถทนทานต่ออุณหภูมิที่หนาวจัดหรือร้อนจัดได้ นอกจากนี้แล้วก็ยังมีการควบคุมโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มีการปรับปรุงโภชนาการ มีการใช้ทักษะทางเทคโนโลยีใหม่ๆ และมีการจัดตั้งกองทุนการพัฒนาขึ้นมา ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นนี้ได้ช่วยเสริมพลังของมนุษย์ในประเทศเขตเมืองร้อนที่ครั้งหนึ่งภูมิภาคในเขตนี้ทำให้คนเชื่อยชา ให้กลายมาเป็นคนกระฉับกระเฉง สามารถเพิ่มผลผลิตต่างๆมากยิ่งขึ้น ไม่อยู่ในระดับพอเป็นเครื่องยังชีพเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว ภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อกิจกรรมมนุษย์มากที่สุดก็คือ ภูมิอากาศในเขตที่เป็นกลางๆอยู่ในระหว่างเส้นองศาเหนือและใต้ที่ 20 ของเส้นศูนย์สูตร ประมาณการณ์กันว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินของโลก 75 เปอร์เซ็นต์ของผืนดินที่เป็นที่พำนักอาศัย และ 9 เปอร์เซ็นต์ของประชากรของโลก ล้วนแต่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาทั้งนั้น ซึ่งในข้อนี้ก็ช่วยอธิบายให้เราได้เข้าใจว่าเพราะเหตุใดในเขตปานกลางเหนือจึงยังคงมีบทบาทโดดเด่นบนเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
ผลของสภาวะทางอากาศที่มีต่อพลังอำนาจชาติ สภาวะทางอากาศของรัฐหนึ่งรัฐใดส่วนใหญ่แล้วจะถูกกำหนดโดยลักษณะของลม ความเร็วของลม และอุณหภูมิของอากาศเป็นหลัก ในทางประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เราได้เห็นว่า การที่จะพัฒนาพลังอำนาจชาติให้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้นั้นจะทำได้เฉพาะในชาติที่อยู่ในภูมิภาคซึ่งมีสภาวะทางอากาศอย่างกลางๆพอสบายๆไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดนัก สภาวะทางอากาศที่ผิดแผกไปจากนี้มีทางเอาชนะได้ก็พอมีบ้าง แต่ถ้าเป็นกรณีที่สภาวะทางอากาศเป็นแบบสุดโต่งคือจ้อนจัดและหนาวจัดเสียแล้ว ชีวิตมนุษย์จะดำรงอยู่ได้ในสภาวะอากาศเช่นนี้ได้ ก็จำเป็นต้องใช้พลังงานและทรัพยากรมนุษย์สิ้นเปลืองมากกว่ากรณีที่อยู่ในภูมิภาคซึ่งมีภูมิอากาศแบบกลางๆ
ความสำคัญ ภูมิอากาศน่าจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในบรรดาองค์ประกอบอำนาจทางภูมิศาสตร์ เพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อขีดความสามารถของสังคมที่จะทำการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร และประกอบกิจการงานต่างๆ ผลของภูมิอากาศสามารถเปลี่ยนแปลงได้บ้างเหมือนกันแต่ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผืนแผ่นดินมีสภาพแห้งแล้งขาดฝน ก็อาจใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยได้ ส่วนในกรณีที่น้ำมีความเค็มใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกไม่ได้ ก็ใช้วิธีกลั่นให้เป็นน้ำจืดเสียก่อนอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งวิธีการทั้งสองอย่างนี้จะทำให้สามารถเอาชนะอุปสรรคในเรื่องขาดแคลนน้ำฝนได้ นอกจากนี้แล้วเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสามารถปรับปรุงสภาพการทำงานในภูมิภาคต่างๆที่มีอากาศหนาวเย็นมากๆของโลกได้อีกเหมือนกัน อย่างเช่นเดี๋ยวนี้ได้มีการพัฒนาธัญพืชและสัตว์ที่จะนำมาใช้เป็นอาหาร ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สามารถทนทานต่ออุณหภูมิที่หนาวจัดหรือร้อนจัดได้ นอกจากนี้แล้วก็ยังมีการควบคุมโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มีการปรับปรุงโภชนาการ มีการใช้ทักษะทางเทคโนโลยีใหม่ๆ และมีการจัดตั้งกองทุนการพัฒนาขึ้นมา ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นนี้ได้ช่วยเสริมพลังของมนุษย์ในประเทศเขตเมืองร้อนที่ครั้งหนึ่งภูมิภาคในเขตนี้ทำให้คนเชื่อยชา ให้กลายมาเป็นคนกระฉับกระเฉง สามารถเพิ่มผลผลิตต่างๆมากยิ่งขึ้น ไม่อยู่ในระดับพอเป็นเครื่องยังชีพเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว ภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อกิจกรรมมนุษย์มากที่สุดก็คือ ภูมิอากาศในเขตที่เป็นกลางๆอยู่ในระหว่างเส้นองศาเหนือและใต้ที่ 20 ของเส้นศูนย์สูตร ประมาณการณ์กันว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินของโลก 75 เปอร์เซ็นต์ของผืนดินที่เป็นที่พำนักอาศัย และ 9 เปอร์เซ็นต์ของประชากรของโลก ล้วนแต่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาทั้งนั้น ซึ่งในข้อนี้ก็ช่วยอธิบายให้เราได้เข้าใจว่าเพราะเหตุใดในเขตปานกลางเหนือจึงยังคงมีบทบาทโดดเด่นบนเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
Geographic Power Factor : Location
ปัจจัยพลังอำนาจทางภูมิศาสตร์ : ที่ตั้ง
สัมพันธภาพระหว่างที่ตั้งทางกายภาพบนผืนโลกกับพลังอำนาจชาติ ที่ตั้งของรัฐหนึ่งรัฐใดจะมีความสัมพันธ์กับพลังอำนาจชาติก็โดยพิจารณาถึงภูมิอากาศ ทางเข้าออกทะเล การควบคุมเส้นทางขนส่งทางทะเลและทางบก รวมตลอดไปจนถึงการมีทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ นอกจากนี้แล้วการมีหรือการไม่มีเพื่อนบ้านที่มีพลังอำนาจมากๆก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ตั้งนี้ด้วยเหมือนกัน
ความสำคัญ ทำเลที่ตั้งนี้เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในสมการพลังอำนาจชาติทั้งในแง่ภูมิศาสตร์และแง่ยุทธศาสตร์ ในทางประวัติศาสตร์บ่งบอกให้เราได้รู้ว่า รัฐต่างๆที่บทบาทมีผลกระทบต่อกิจการของมวลมนุษย์มากที่สุดนั้นจะมีที่ตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือนับแต่เส้นศูนย์สูตรของโลกขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือที่อยู่ในโซนหรือเขตปานกลาง ความโยงใยเกี่ยวพันทางยุทธศาสตร์ระหว่างที่ตั้งกับนโยบายต่างประเทศก็ได้เป็นที่ประจักษ์มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ส่วนในปัจจุบันความโยงใยเกี่ยวพันแบบเดียวกันนี้ก็มีเหมือนกัน ดังจะเห็นได้จากมีวิชาภูมิรัฐศาสตร์เกิดขึ้นมาเป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่ง มีท่านผู้รู้ได้ยกตัวอย่างในกรณีที่ระบอบการปกครองของเยอรมนีและของรัสเซียไม่ว่าจะเป็นแบบใดมักจะส่งเสริมนโยบายแสนยนิยม(นิยมการทหาร) ทั้งนั้น ท่านบอกด้วยว่านี่ก็โยงใยไปถึงที่ตั้งของประเทศทั้งสองที่ไม่มีเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติพอจะป้องกันการบุกจากต่างชาติผ่านทางพื้นราบของยุโรปทางตอนเหนือจากแม่น้ำไรน์ถึงเทือกเขาอูราล ส่วนนัยตรงกันข้ามนั้นก็จะเห็นได้ว่า เครื่องกีดขวางตามธรรมชาติคือน้ำได้ช่วยให้บริเตนใหญ่(อังกฤษ) ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริการอดพ้นจากการถูกต่างชาติรุกรานในเกือบจะทุกช่วงประวัติศาสตร์ของทั้งสามชาตินี้ ความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศของแคนาดาและของกลุ่มประเทศในละตินอเมริกา ได้รับผลกระทบมาจากการที่ประเทศเหล่านี้มีที่ตั้งอยู่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาและอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจโลกศูนย์อื่นๆ ตรงนี้ก็เช่นเดียวกับในกรณีของรัฐต่างๆในแถบยุโรปตะวันออกที่สัมพันธ์กับสหภาพโซเวียตนั้นด้วย นอกจากนี้แล้วความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ที่ยึดถือกันเป็นประเพณีนิยมมาตลอดนั้น ก็เป็นตัวอย่างผลกระทบของทำเลที่ตั้งต่อนโยบายภายในและนโยบายต่างประเทศนี้ด้วยเหมือนกัน อย่างไรก็ตามทำเลที่ตั้งนี้มิใช่ว่าจะเป็นตัวการทำให้ชาติหนึ่งชาติใดมีอำนาจขึ้นมาได้โดยลำพังตัวของมันเอง แต่มันจะเป็นตัวการเอื้ออำนวยให้รัฐนั้นสามารถแสวงหาพลังอำนาจและใช้พลังอำนาจนั้นได้ คุณูปการของทำเลที่ตั้งต่อการมีพลังอำนาจชาตินี้สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ โดยการพัฒนาองค์ประกอบพลังอำนาจชาติอย่างอื่นขึ้นมาทดแทน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงในสถานที่ตั้งของตลาดและสินค้าที่จะนำมาค้าขายกันก็จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเส้นทางการค้าได้ และเมื่อมีการพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศขึ้นมาแล้วก็เป็นการเพิ่มความสำคัญให้แก่สถานที่ตั้งซึ่งแต่เดิมอาจจะไปมาได้ก็แต่ทางบกหรือทางน้ำเท่านั้น
สัมพันธภาพระหว่างที่ตั้งทางกายภาพบนผืนโลกกับพลังอำนาจชาติ ที่ตั้งของรัฐหนึ่งรัฐใดจะมีความสัมพันธ์กับพลังอำนาจชาติก็โดยพิจารณาถึงภูมิอากาศ ทางเข้าออกทะเล การควบคุมเส้นทางขนส่งทางทะเลและทางบก รวมตลอดไปจนถึงการมีทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ นอกจากนี้แล้วการมีหรือการไม่มีเพื่อนบ้านที่มีพลังอำนาจมากๆก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ตั้งนี้ด้วยเหมือนกัน
ความสำคัญ ทำเลที่ตั้งนี้เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในสมการพลังอำนาจชาติทั้งในแง่ภูมิศาสตร์และแง่ยุทธศาสตร์ ในทางประวัติศาสตร์บ่งบอกให้เราได้รู้ว่า รัฐต่างๆที่บทบาทมีผลกระทบต่อกิจการของมวลมนุษย์มากที่สุดนั้นจะมีที่ตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือนับแต่เส้นศูนย์สูตรของโลกขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือที่อยู่ในโซนหรือเขตปานกลาง ความโยงใยเกี่ยวพันทางยุทธศาสตร์ระหว่างที่ตั้งกับนโยบายต่างประเทศก็ได้เป็นที่ประจักษ์มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ส่วนในปัจจุบันความโยงใยเกี่ยวพันแบบเดียวกันนี้ก็มีเหมือนกัน ดังจะเห็นได้จากมีวิชาภูมิรัฐศาสตร์เกิดขึ้นมาเป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่ง มีท่านผู้รู้ได้ยกตัวอย่างในกรณีที่ระบอบการปกครองของเยอรมนีและของรัสเซียไม่ว่าจะเป็นแบบใดมักจะส่งเสริมนโยบายแสนยนิยม(นิยมการทหาร) ทั้งนั้น ท่านบอกด้วยว่านี่ก็โยงใยไปถึงที่ตั้งของประเทศทั้งสองที่ไม่มีเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติพอจะป้องกันการบุกจากต่างชาติผ่านทางพื้นราบของยุโรปทางตอนเหนือจากแม่น้ำไรน์ถึงเทือกเขาอูราล ส่วนนัยตรงกันข้ามนั้นก็จะเห็นได้ว่า เครื่องกีดขวางตามธรรมชาติคือน้ำได้ช่วยให้บริเตนใหญ่(อังกฤษ) ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริการอดพ้นจากการถูกต่างชาติรุกรานในเกือบจะทุกช่วงประวัติศาสตร์ของทั้งสามชาตินี้ ความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศของแคนาดาและของกลุ่มประเทศในละตินอเมริกา ได้รับผลกระทบมาจากการที่ประเทศเหล่านี้มีที่ตั้งอยู่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาและอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจโลกศูนย์อื่นๆ ตรงนี้ก็เช่นเดียวกับในกรณีของรัฐต่างๆในแถบยุโรปตะวันออกที่สัมพันธ์กับสหภาพโซเวียตนั้นด้วย นอกจากนี้แล้วความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ที่ยึดถือกันเป็นประเพณีนิยมมาตลอดนั้น ก็เป็นตัวอย่างผลกระทบของทำเลที่ตั้งต่อนโยบายภายในและนโยบายต่างประเทศนี้ด้วยเหมือนกัน อย่างไรก็ตามทำเลที่ตั้งนี้มิใช่ว่าจะเป็นตัวการทำให้ชาติหนึ่งชาติใดมีอำนาจขึ้นมาได้โดยลำพังตัวของมันเอง แต่มันจะเป็นตัวการเอื้ออำนวยให้รัฐนั้นสามารถแสวงหาพลังอำนาจและใช้พลังอำนาจนั้นได้ คุณูปการของทำเลที่ตั้งต่อการมีพลังอำนาจชาตินี้สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ โดยการพัฒนาองค์ประกอบพลังอำนาจชาติอย่างอื่นขึ้นมาทดแทน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงในสถานที่ตั้งของตลาดและสินค้าที่จะนำมาค้าขายกันก็จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเส้นทางการค้าได้ และเมื่อมีการพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศขึ้นมาแล้วก็เป็นการเพิ่มความสำคัญให้แก่สถานที่ตั้งซึ่งแต่เดิมอาจจะไปมาได้ก็แต่ทางบกหรือทางน้ำเท่านั้น
Geographic Power Factor : Raw Materials
ปัจจัยพลังอำนาจทางภูมิศาสตร์ : วัตถุดิบ
ทรัพยากรต่างๆที่เป็นน้ำและดินรวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์จากทั้งสองสิ่งนี้ ตลอดจนแร่ธาตุต่างๆที่อยู่ใต้ดินอันจะสัมพันธ์กับพลังอำนาจชาติ การมีวัตถุดิบต่างๆมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อมาตรฐานการครองชีพและความมั่นคงของรัฐ แต่จะนำวัตถุดิบเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นั้น มีส่วนไปสัมพันธ์กับการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่จะเป็นตัวสร้างอุปสงค์ให้แก่วัตถุดิบเหล่านี้ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ เหล็กและถ่านหินเป็นแร่ธาตุพื้นฐานสำหรับพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันนี้มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าขึ้นมามาก ทำให้เกิดอุปสงค์ใหม่ๆสำหรับวัตถุดิบอื่นๆ เป็นต้นว่า แร่ยูเรเนียมที่จะนำไปใช้ผลิตพลังงาน และแร่ไททาเนียมที่จะนำไปใช้ในเครื่องจักรไอพ่น เทคโนโลยีด้านต่างๆ เป็นต้นว่า เทคโนโลยีสำรวจอวกาศ เทคโนโลยีทางยารักษาโรค และเทคโนโลยีทางสงคราม ล้วนต้องอิงอาศัยการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมในระดับสูงที่จะต้องใช้วัตถุดิบหลากหลายชนิด ประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งกำลังเสาะแสวงหาวิธีการต่างๆเพื่อนำมาใช้เลี้ยงดูประชาชนของตนที่มีจำนวนเพิ่มทวีขึ้นมาให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ก็ยิ่งเป็นตัวการไปเพิ่มแรงกดดันแก่แหล่งทรัพยากรของโลกที่มีแต่นับวันจะร่อยหรอลงไปเรื่อยๆ
ความสำคัญ พลังอำนาจและความรุ่งเรืองไพบูลย์ของชาติจะสัมพันธ์โดยตรงกับการครอบครองหรือการมีวัตถุดิบ และการมีขีดความสามารถที่จะใช้วัตถุดิบต่างๆ ด้วยเหตุที่การกระจายวัตถุดิบต่างๆในทั่วโลกมีไม่เท่ากัน ก็จึงเป็นเหตุผลสำคัญทำให้มีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นมา และมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งต่างๆตามมาด้วย และก็ด้วยความจำเป็นในการแสวงหาแหล่งป้อนทางวัตถุดิบนี่เองที่ในอดีตเคยเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดลัทธิล่าอาณานิคมและสงคราม ตลอดจนเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ผลักดันให้มีการดำเนินนโบายการค้าเสรีที่เกิดขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เมื่อความต้องการทางวัตถุดิบมีมากขึ้นแต่วัตถุดิบมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากได้มีการนำไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและนำไปเลี้ยงประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้นมามากมายทั่วโลกเช่นนี้ ก็จึงต้องเร่งเสาะแสวงหาแหล่งป้อนทรัพยากรใหม่ๆขึ้นมา ตลอดจนมีการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่และพัฒนาสิ่งอื่นมาใช้ทดแทนกัน วิธีการอย่างหนึ่งที่นำมาใช้กันก็คือ พัฒนาสารสงเคราะห์จากวัตถุดิบที่มีอยู่มากหลาย ยกตัวอย่างเช่น พัฒนาปิโตรเคมีจากน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น ถึงแม้ว่าวัตถุดิบทีมีสำรองอยู่ตามที่ต่างๆโดยรวมกำลังร่อยหรอลงไปอยู่เรื่อยๆ แต่ก็มีหลายอย่างที่อุปทานในตลาดโลกมีเกินกว่าอุปสงค์มาก ทำให้ราคาของวัตถุเหล่านี้ไม่มีความแน่นอน และส่งผลให้สถานการณ์การค้าของประเทศผู้ป้อนต้องย่ำแย่ไปตามๆกัน
ทรัพยากรต่างๆที่เป็นน้ำและดินรวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์จากทั้งสองสิ่งนี้ ตลอดจนแร่ธาตุต่างๆที่อยู่ใต้ดินอันจะสัมพันธ์กับพลังอำนาจชาติ การมีวัตถุดิบต่างๆมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อมาตรฐานการครองชีพและความมั่นคงของรัฐ แต่จะนำวัตถุดิบเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นั้น มีส่วนไปสัมพันธ์กับการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่จะเป็นตัวสร้างอุปสงค์ให้แก่วัตถุดิบเหล่านี้ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ เหล็กและถ่านหินเป็นแร่ธาตุพื้นฐานสำหรับพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันนี้มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าขึ้นมามาก ทำให้เกิดอุปสงค์ใหม่ๆสำหรับวัตถุดิบอื่นๆ เป็นต้นว่า แร่ยูเรเนียมที่จะนำไปใช้ผลิตพลังงาน และแร่ไททาเนียมที่จะนำไปใช้ในเครื่องจักรไอพ่น เทคโนโลยีด้านต่างๆ เป็นต้นว่า เทคโนโลยีสำรวจอวกาศ เทคโนโลยีทางยารักษาโรค และเทคโนโลยีทางสงคราม ล้วนต้องอิงอาศัยการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมในระดับสูงที่จะต้องใช้วัตถุดิบหลากหลายชนิด ประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งกำลังเสาะแสวงหาวิธีการต่างๆเพื่อนำมาใช้เลี้ยงดูประชาชนของตนที่มีจำนวนเพิ่มทวีขึ้นมาให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ก็ยิ่งเป็นตัวการไปเพิ่มแรงกดดันแก่แหล่งทรัพยากรของโลกที่มีแต่นับวันจะร่อยหรอลงไปเรื่อยๆ
ความสำคัญ พลังอำนาจและความรุ่งเรืองไพบูลย์ของชาติจะสัมพันธ์โดยตรงกับการครอบครองหรือการมีวัตถุดิบ และการมีขีดความสามารถที่จะใช้วัตถุดิบต่างๆ ด้วยเหตุที่การกระจายวัตถุดิบต่างๆในทั่วโลกมีไม่เท่ากัน ก็จึงเป็นเหตุผลสำคัญทำให้มีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นมา และมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งต่างๆตามมาด้วย และก็ด้วยความจำเป็นในการแสวงหาแหล่งป้อนทางวัตถุดิบนี่เองที่ในอดีตเคยเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดลัทธิล่าอาณานิคมและสงคราม ตลอดจนเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ผลักดันให้มีการดำเนินนโบายการค้าเสรีที่เกิดขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เมื่อความต้องการทางวัตถุดิบมีมากขึ้นแต่วัตถุดิบมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากได้มีการนำไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและนำไปเลี้ยงประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้นมามากมายทั่วโลกเช่นนี้ ก็จึงต้องเร่งเสาะแสวงหาแหล่งป้อนทรัพยากรใหม่ๆขึ้นมา ตลอดจนมีการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่และพัฒนาสิ่งอื่นมาใช้ทดแทนกัน วิธีการอย่างหนึ่งที่นำมาใช้กันก็คือ พัฒนาสารสงเคราะห์จากวัตถุดิบที่มีอยู่มากหลาย ยกตัวอย่างเช่น พัฒนาปิโตรเคมีจากน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น ถึงแม้ว่าวัตถุดิบทีมีสำรองอยู่ตามที่ต่างๆโดยรวมกำลังร่อยหรอลงไปอยู่เรื่อยๆ แต่ก็มีหลายอย่างที่อุปทานในตลาดโลกมีเกินกว่าอุปสงค์มาก ทำให้ราคาของวัตถุเหล่านี้ไม่มีความแน่นอน และส่งผลให้สถานการณ์การค้าของประเทศผู้ป้อนต้องย่ำแย่ไปตามๆกัน
Geographic Power Factor : Size
ปัจจัยพลังอำนาจทางภูมิศาสตร์ : ขนาด
ผลของสัมพันธภาพระหว่างพื้นที่ส่วนที่เป็นพื้นดินของรัฐต่างๆอันมีผลต่อสมการพลังอำนาจชาติ ในหมู่รัฐต่างๆในโลกที่มีจำนวนมากกว่า 190 รัฐเหล่านี้จะมีขนาดของพื้นที่ที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไป นับแต่อดีตสหภาพโซเวียตซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 8. 6 ล้านตารางไมล์(22 ล้านตารางกิโลเมตร) จนกระทั่งถึงขนาดเล็กสุดคือสำนักวาติกันที่มีพื้นที่เพียง 108.7 เอเคอร์(44 เฮกตาร์) จีน แคนาดา และสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ระหว่าง 3.6-3.8 ล้านตารางไมล์(9.3-9.8 ล้านตารางกิโลเมตร) บราซิล ออสเตรเลีย อินเดีย และอาร์เจนตินา แต่ละประเทศมีพื้นที่มากกว่า 1 ล้านตารางไมล์(2.6 ล้านตารางกิโลเมตร) รัฐที่มีพื้นที่ระหว่าง 100,000 –1,000,000 ตารางไมล์(260,000 – 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร) มีจำนวน 54 รัฐ รัฐที่มีพื้นที่ระหว่าง 40,000-100,000 ตารางไมล์(7,800-100,000 ตารางกิโลเมตร) มีจำนวน 30 รัฐ ส่วนรัฐที่มีพื้นที่น้อยกว่า 3,000 ตารางไมล์(7,800 ตารางกิโลเมตร) มีจำนวนกว่า 30 รัฐ
ความสำคัญ เพียงแค่ขนาดของพื้นที่อย่างเดียวมิได้เป็นหลักประกันว่าจะทำให้รัฐมีอำนาจชาติขึ้นมาได้ เพราะพลังอำนาจนี้จะสัมพันธ์กับเรื่องอื่นๆด้วย เป็นต้นว่า ประชากร ทรัพยากรธรรมชาติ ระดับความเจริญทางเทคโนโลยี ความเป็นปึกแผ่นทางสังคม และภาวะผู้นำ อย่างไรก็ดีขนาดของพื้นที่นี้จะเกี่ยวข้องกับขีดความสามารถของรัฐที่จะพัฒนาอำนาจของตนขึ้นมาได้ วัตถุดิบต่างๆจะพบว่ามีหลากหลายและมีปริมาณมากในรัฐที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากกว่าในรัฐเล็กๆ และรัฐที่มีพื้นที่มากๆนี้ก็ยังสามารถรองรับการขยายตัวของประชากรที่เพิ่มขึ้นมาได้อีกด้วย แต่เนื่องจากว่าความเจริญทางเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้วัตถุดิบที่มีอยู่ตามแหล่งพื้นเมืองต่างๆยังเข้าไปไม่ถึงหรือยังมิได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยเหตุนี้ดินแดนของรัฐจึงมิได้เกิดประโยชน์เกื้อหนุนชีวิตมนุษย์ในทั่วทุกส่วน แม้ว่าในบางครั้งความสามารถของมนุษย์อาจจะเอาชนะข้อบกพร่องในเรื่องขนาดของดินแดนนี้ได้ก็จริง แต่ถ้าสมมติว่าคนมีความสามารถเท่าเทียมกันส่วนขนาดของพื้นที่แตกต่างกันประเทศที่มีขนาดใหญ่มีพื้นที่กว้างขวางกว่าก็มีโอกาสจะมีอำนาจมากกว่าประเทศที่มีพื้นที่เล็กกว่าอยู่ดี
ผลของสัมพันธภาพระหว่างพื้นที่ส่วนที่เป็นพื้นดินของรัฐต่างๆอันมีผลต่อสมการพลังอำนาจชาติ ในหมู่รัฐต่างๆในโลกที่มีจำนวนมากกว่า 190 รัฐเหล่านี้จะมีขนาดของพื้นที่ที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไป นับแต่อดีตสหภาพโซเวียตซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 8. 6 ล้านตารางไมล์(22 ล้านตารางกิโลเมตร) จนกระทั่งถึงขนาดเล็กสุดคือสำนักวาติกันที่มีพื้นที่เพียง 108.7 เอเคอร์(44 เฮกตาร์) จีน แคนาดา และสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ระหว่าง 3.6-3.8 ล้านตารางไมล์(9.3-9.8 ล้านตารางกิโลเมตร) บราซิล ออสเตรเลีย อินเดีย และอาร์เจนตินา แต่ละประเทศมีพื้นที่มากกว่า 1 ล้านตารางไมล์(2.6 ล้านตารางกิโลเมตร) รัฐที่มีพื้นที่ระหว่าง 100,000 –1,000,000 ตารางไมล์(260,000 – 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร) มีจำนวน 54 รัฐ รัฐที่มีพื้นที่ระหว่าง 40,000-100,000 ตารางไมล์(7,800-100,000 ตารางกิโลเมตร) มีจำนวน 30 รัฐ ส่วนรัฐที่มีพื้นที่น้อยกว่า 3,000 ตารางไมล์(7,800 ตารางกิโลเมตร) มีจำนวนกว่า 30 รัฐ
ความสำคัญ เพียงแค่ขนาดของพื้นที่อย่างเดียวมิได้เป็นหลักประกันว่าจะทำให้รัฐมีอำนาจชาติขึ้นมาได้ เพราะพลังอำนาจนี้จะสัมพันธ์กับเรื่องอื่นๆด้วย เป็นต้นว่า ประชากร ทรัพยากรธรรมชาติ ระดับความเจริญทางเทคโนโลยี ความเป็นปึกแผ่นทางสังคม และภาวะผู้นำ อย่างไรก็ดีขนาดของพื้นที่นี้จะเกี่ยวข้องกับขีดความสามารถของรัฐที่จะพัฒนาอำนาจของตนขึ้นมาได้ วัตถุดิบต่างๆจะพบว่ามีหลากหลายและมีปริมาณมากในรัฐที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากกว่าในรัฐเล็กๆ และรัฐที่มีพื้นที่มากๆนี้ก็ยังสามารถรองรับการขยายตัวของประชากรที่เพิ่มขึ้นมาได้อีกด้วย แต่เนื่องจากว่าความเจริญทางเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้วัตถุดิบที่มีอยู่ตามแหล่งพื้นเมืองต่างๆยังเข้าไปไม่ถึงหรือยังมิได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยเหตุนี้ดินแดนของรัฐจึงมิได้เกิดประโยชน์เกื้อหนุนชีวิตมนุษย์ในทั่วทุกส่วน แม้ว่าในบางครั้งความสามารถของมนุษย์อาจจะเอาชนะข้อบกพร่องในเรื่องขนาดของดินแดนนี้ได้ก็จริง แต่ถ้าสมมติว่าคนมีความสามารถเท่าเทียมกันส่วนขนาดของพื้นที่แตกต่างกันประเทศที่มีขนาดใหญ่มีพื้นที่กว้างขวางกว่าก็มีโอกาสจะมีอำนาจมากกว่าประเทศที่มีพื้นที่เล็กกว่าอยู่ดี
Geographic Power Factor : Topography
ปัจจัยพลังอำนาจทางภูมิศาสตร์ : ภูมิประเทศ
ผลของลักษณะทางกายภาพของรัฐที่มีต่ออำนาจชาติ ภูมิประเทศนี้หมายรวมถึงองค์ประกอบต่างๆ เป็นต้นว่า ระดับความสูง(จากน้ำทะเล) ระบบแม่น้ำลำธารต่างๆ เทือกเขา ที่ราบ และห้วยหนองคลองบึงต่างๆ องค์ประกอบอย่างอื่น เช่น ขนาด ที่ตั้ง วัตถุดิบ ภูมิอากาศ เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับภูมิประเทศนี้แล้วก็จะเป็นปัจจัยทางภูมิศาสสตร์ที่มีผลต่ออำนาจชาติ
ความสำคัญ ภูมิประเทศจะมีผลกระทบทั้งต่อชีวิตทางสังคมและทางการเมืองของรัฐ กับทั้งจะมีผลกระทบต่อความสำคัญที่รัฐนั้นมีอยู่กับรัฐอื่นๆอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลและทิศทางการลาดเอียงของพื้นที่ที่สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์และกระแสลมจะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมประเภทใด ส่วนในเรื่องของภูเขา พื้นราบ และระบบแม่น้ำก็จะไปสัมพันธ์กับการรวมตัวของประชากรเป็นศูนย์ต่างๆขึ้นมา ในทางประวัติศาสตร์บ่งบอกให้เราได้รู้ว่า ในพื้นที่ซึ่งมีลักษณะทางภูมิประเทศยากแก่การคมนาคมนั้น ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมในพื้นที่เช่นนี้จะมีลักษณะยั่งยืนแตกต่างจากวัฒนธรรมในพื้นที่อื่นๆ ลักษณะภูมิประเทศที่ง่ายหรือยากต่อการเข้าออกก็จะเป็นตัวกำหนดในเรื่องเสถียรภาพของพรมแดนทางการเมืองได้ด้วย ดังนั้นภูมิประเทศจึงเป็นปัจจัยอำนาจที่ไม่อาจหลีกหนีได้พ้น แต่ความสัมพันธ์ของมันในกาละและเทศะต่างๆจะถูกกำหนดโดยสัมพันธภาพกับปัจจัยอย่างอื่นๆ เป็นต้นว่า ระดับของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในสถานการณ์เดียวกันนั้น ยกตัวอย่างเช่น ภูมิประเทศที่มีเทือกเขาสูงหรือพื้นที่ราบอาจมีผลกระทบที่แตกต่างกันเมื่อต้องใช้ปฏิบัติการรบด้วยกำลังทหารราบในรูปแบบการรบปกติ แต่จะไม่มีผลกระทบที่แตกต่างต่างกันหากเป็นการปฏิบัติการด้วยการโจมตีทางอากาศหรือการโจมตีด้วยจรวด นอกจากนี้แล้วการคมนาคมสมัยใหม่ก็ยังสามารถเอาชนะอุปสรรคทางด้านภูมิประเทศนี้ได้อีกเหมือนกัน
ผลของลักษณะทางกายภาพของรัฐที่มีต่ออำนาจชาติ ภูมิประเทศนี้หมายรวมถึงองค์ประกอบต่างๆ เป็นต้นว่า ระดับความสูง(จากน้ำทะเล) ระบบแม่น้ำลำธารต่างๆ เทือกเขา ที่ราบ และห้วยหนองคลองบึงต่างๆ องค์ประกอบอย่างอื่น เช่น ขนาด ที่ตั้ง วัตถุดิบ ภูมิอากาศ เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับภูมิประเทศนี้แล้วก็จะเป็นปัจจัยทางภูมิศาสสตร์ที่มีผลต่ออำนาจชาติ
ความสำคัญ ภูมิประเทศจะมีผลกระทบทั้งต่อชีวิตทางสังคมและทางการเมืองของรัฐ กับทั้งจะมีผลกระทบต่อความสำคัญที่รัฐนั้นมีอยู่กับรัฐอื่นๆอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลและทิศทางการลาดเอียงของพื้นที่ที่สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์และกระแสลมจะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมประเภทใด ส่วนในเรื่องของภูเขา พื้นราบ และระบบแม่น้ำก็จะไปสัมพันธ์กับการรวมตัวของประชากรเป็นศูนย์ต่างๆขึ้นมา ในทางประวัติศาสตร์บ่งบอกให้เราได้รู้ว่า ในพื้นที่ซึ่งมีลักษณะทางภูมิประเทศยากแก่การคมนาคมนั้น ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมในพื้นที่เช่นนี้จะมีลักษณะยั่งยืนแตกต่างจากวัฒนธรรมในพื้นที่อื่นๆ ลักษณะภูมิประเทศที่ง่ายหรือยากต่อการเข้าออกก็จะเป็นตัวกำหนดในเรื่องเสถียรภาพของพรมแดนทางการเมืองได้ด้วย ดังนั้นภูมิประเทศจึงเป็นปัจจัยอำนาจที่ไม่อาจหลีกหนีได้พ้น แต่ความสัมพันธ์ของมันในกาละและเทศะต่างๆจะถูกกำหนดโดยสัมพันธภาพกับปัจจัยอย่างอื่นๆ เป็นต้นว่า ระดับของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในสถานการณ์เดียวกันนั้น ยกตัวอย่างเช่น ภูมิประเทศที่มีเทือกเขาสูงหรือพื้นที่ราบอาจมีผลกระทบที่แตกต่างกันเมื่อต้องใช้ปฏิบัติการรบด้วยกำลังทหารราบในรูปแบบการรบปกติ แต่จะไม่มีผลกระทบที่แตกต่างต่างกันหากเป็นการปฏิบัติการด้วยการโจมตีทางอากาศหรือการโจมตีด้วยจรวด นอกจากนี้แล้วการคมนาคมสมัยใหม่ก็ยังสามารถเอาชนะอุปสรรคทางด้านภูมิประเทศนี้ได้อีกเหมือนกัน
Geopolitics
ภูมิรัฐศาสตร์
แนวทางนโยบายต่างประเทศที่พยายามอธิบายและพยากรณ์พฤติกรรมทางการเมืองและขีดความสามารถทางด้านการทหารในแง่ของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้วยเหตุนี้ภูมิรัฐศาสตร์จึงเป็นนิยัตินิยมทางประวัติศาสตร์ที่อิงอาศัยภูมิศาสตร์ในระดับต่างๆ ฟรีดริช รัตเซล(1724-1804) ได้เปรียบเทียบรัฐกับอินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งจะต้องขยายพื้นที่ออกไปมิฉะนั้นก็จะต้องตาย สานุศิษย์ของรัตเซล ชื่อ รูดอล์ฟ เจลเลน(1864-1922) ก็ได้ดำเนินรอยตามกระบวนการเปรียบเทียบรัฐกับอินทรีย์นี้โดยกล่าวว่ารัฐเป็นอะไรมากไปกว่าแนวความคิดทางกฎหมาย เจลเลนได้พัฒนากฎเกณฑ์ว่าด้วยรัฐโดยกล่าวว่าเป็น ”อินทรีย์ทางภูมิศาสตร์ในเทศะ” และได้ตั้งชื่อกฎเกณฑ์เหล่านี้ว่า”ภูมิรัฐศาสตร์” ไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ รัฐในฐานะที่เป็นรูปแบบแห่งชีวิตอย่างหนึ่ง (1916) หลักการของภูมิรัฐศาสตร์นี้ถึงแม้จะสร้างทฤษฎีโดยอิงภูมิศาสตร์และมีการนำเสนอในแง่ของการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์แต่ก็เต็มไปด้วยสิ่งโฆษณาชวนเชื่ออยู่มากมาย เกียรติภูมิของภูมิรัฐศาสตร์เสื่อมเสียไปมากเพราะนักภูมิรัฐศาสตร์อย่างเช่น คาร์ล เฮาโชเฟอร์(1869-1946)มักจะให้การสนับสนุนอุดมการณ์ทางการเมืองหรือนโยบายแห่งชาติอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยพวกเขาจะพยายามอธิบายหรืออ้างเหตุผลให้การสนับสนุนในแง่ของการอ้างเหตุผลโดยอิงหลักภูมิศาสตร์ ศัพท์ว่า ภูมิรัฐศาสตร์ นี้ก็ยังอาจจะนำไปใช้เพื่ออธิบายภูมิศาสตร์การเมืองที่พิจารณาในแง่ของโครงสร้างของโลกและรัฐที่เป็นองค์ประกอบของโลก หรืออาจจะใช้หมายถึงการวางแผนนโยบายต่างประเทศในรูปแบบที่นำองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์ต่างๆมาใช้เป็นข้อพิจารณา
ความสำคัญ เหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆมักจะเกิดในบริบททางภูมิศาสตร์ และองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์อาจมีอิทธิพลต่อกระแสของเหตุการณ์ได้ แต่ตัวมนุษย์เรานี่เองไม่ใช่ภูมิศาสตร์ที่ไหนที่เป็นผู้สร้างเหตุการณ์ทางการเมือง ภูมิศาสตร์คือส่วนผสมขององค์ประกอบต่างๆ เช่น ขนาด ที่ตั้ง ภูมิอากาศ และภูมิประเทศเท่านั้นเอง นอกจากนี้แล้วภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งแต่ก็มิใช่ว่าจะเป็นปัจจัยเพียงหนึ่งเดียวโดยลำพังของอำนาจชาติ ความสำคัญของภูมิศาสตร์มีความสัมพันธ์กับข้อพิจารณาอื่นๆ เป็นต้นว่า เศรษฐกิจ เทคโนโลยี พลังมนุษย์ และขวัญด้วย การที่เราจะตีค่าปัจจัยทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้โดยพิจารณาเข้าด้วยกันว่าเป็นสมการอำนาจชาติได้นั้นจะมีความหมายก็ต่อเมื่อนำไปสัมพันธ์กับสมการอำนาจของรัฐอื่นๆโดยพิจารณาในบริบทของห้วงเวลา สถานที่ และสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะเท่านั้น ข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์เป็นสิ่งที่นักปฏิบัตินโยบายต่างประเทศจะต้องนำมาพิจารณาอย่างต่อเนื่องก็จริง แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าปัจจัยทางภูมิศาสตร์นี้จะเป็นปัจจัยคงที่อยู่ตลอดไป ยกตัวอย่างเช่น การมีพรมแดนติดต่อกับรัฐอื่นโดยไม่มีสิ่งกีดขวางทางธรรมชาตินั้นจะช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐนั้นก็ได้ไม่จำเป็นว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันเสมอไป สภาพน้ำแข็งในขั้วโลกอาจจะเป็นสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติทำให้รัฐที่อยู่ในอาณาบริเวณนั้นไม่สามารถพัฒนาเป็นมหาอำนาจทางทะเลได้ แต่สภาพทางภูมิศาสตร์เช่นนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคขัดขวางรัฐเช่นนี้พัฒนาเป็นมหาอำนาจทางอากาศแต่อย่างใด ทฤษฎีทางภูมิศาสตร์มีลักษณะไม่ผิดอะไรไปจากทฤษฎีที่ใช้เหตุผลอย่างเดียวในการตีความทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายอย่างเช่นนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจเป็นต้น คือ ไม่สามารถใช้อธิบายพฤติกรรมมนุษย์อย่างสมบูรณ์เป็นที่น่าพอใจได้ อย่างไรก็ดีทฤษฎีทางภูมิศาสตร์นี้เป็นแนวทางที่มีประโยชน์ต่อการนำมาใช้ศึกษาการเมืองระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อนได้อย่างกว้างไกลได้ดียิ่งขึ้น
แนวทางนโยบายต่างประเทศที่พยายามอธิบายและพยากรณ์พฤติกรรมทางการเมืองและขีดความสามารถทางด้านการทหารในแง่ของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้วยเหตุนี้ภูมิรัฐศาสตร์จึงเป็นนิยัตินิยมทางประวัติศาสตร์ที่อิงอาศัยภูมิศาสตร์ในระดับต่างๆ ฟรีดริช รัตเซล(1724-1804) ได้เปรียบเทียบรัฐกับอินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งจะต้องขยายพื้นที่ออกไปมิฉะนั้นก็จะต้องตาย สานุศิษย์ของรัตเซล ชื่อ รูดอล์ฟ เจลเลน(1864-1922) ก็ได้ดำเนินรอยตามกระบวนการเปรียบเทียบรัฐกับอินทรีย์นี้โดยกล่าวว่ารัฐเป็นอะไรมากไปกว่าแนวความคิดทางกฎหมาย เจลเลนได้พัฒนากฎเกณฑ์ว่าด้วยรัฐโดยกล่าวว่าเป็น ”อินทรีย์ทางภูมิศาสตร์ในเทศะ” และได้ตั้งชื่อกฎเกณฑ์เหล่านี้ว่า”ภูมิรัฐศาสตร์” ไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ รัฐในฐานะที่เป็นรูปแบบแห่งชีวิตอย่างหนึ่ง (1916) หลักการของภูมิรัฐศาสตร์นี้ถึงแม้จะสร้างทฤษฎีโดยอิงภูมิศาสตร์และมีการนำเสนอในแง่ของการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์แต่ก็เต็มไปด้วยสิ่งโฆษณาชวนเชื่ออยู่มากมาย เกียรติภูมิของภูมิรัฐศาสตร์เสื่อมเสียไปมากเพราะนักภูมิรัฐศาสตร์อย่างเช่น คาร์ล เฮาโชเฟอร์(1869-1946)มักจะให้การสนับสนุนอุดมการณ์ทางการเมืองหรือนโยบายแห่งชาติอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยพวกเขาจะพยายามอธิบายหรืออ้างเหตุผลให้การสนับสนุนในแง่ของการอ้างเหตุผลโดยอิงหลักภูมิศาสตร์ ศัพท์ว่า ภูมิรัฐศาสตร์ นี้ก็ยังอาจจะนำไปใช้เพื่ออธิบายภูมิศาสตร์การเมืองที่พิจารณาในแง่ของโครงสร้างของโลกและรัฐที่เป็นองค์ประกอบของโลก หรืออาจจะใช้หมายถึงการวางแผนนโยบายต่างประเทศในรูปแบบที่นำองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์ต่างๆมาใช้เป็นข้อพิจารณา
ความสำคัญ เหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆมักจะเกิดในบริบททางภูมิศาสตร์ และองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์อาจมีอิทธิพลต่อกระแสของเหตุการณ์ได้ แต่ตัวมนุษย์เรานี่เองไม่ใช่ภูมิศาสตร์ที่ไหนที่เป็นผู้สร้างเหตุการณ์ทางการเมือง ภูมิศาสตร์คือส่วนผสมขององค์ประกอบต่างๆ เช่น ขนาด ที่ตั้ง ภูมิอากาศ และภูมิประเทศเท่านั้นเอง นอกจากนี้แล้วภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งแต่ก็มิใช่ว่าจะเป็นปัจจัยเพียงหนึ่งเดียวโดยลำพังของอำนาจชาติ ความสำคัญของภูมิศาสตร์มีความสัมพันธ์กับข้อพิจารณาอื่นๆ เป็นต้นว่า เศรษฐกิจ เทคโนโลยี พลังมนุษย์ และขวัญด้วย การที่เราจะตีค่าปัจจัยทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้โดยพิจารณาเข้าด้วยกันว่าเป็นสมการอำนาจชาติได้นั้นจะมีความหมายก็ต่อเมื่อนำไปสัมพันธ์กับสมการอำนาจของรัฐอื่นๆโดยพิจารณาในบริบทของห้วงเวลา สถานที่ และสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะเท่านั้น ข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์เป็นสิ่งที่นักปฏิบัตินโยบายต่างประเทศจะต้องนำมาพิจารณาอย่างต่อเนื่องก็จริง แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าปัจจัยทางภูมิศาสตร์นี้จะเป็นปัจจัยคงที่อยู่ตลอดไป ยกตัวอย่างเช่น การมีพรมแดนติดต่อกับรัฐอื่นโดยไม่มีสิ่งกีดขวางทางธรรมชาตินั้นจะช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐนั้นก็ได้ไม่จำเป็นว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันเสมอไป สภาพน้ำแข็งในขั้วโลกอาจจะเป็นสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติทำให้รัฐที่อยู่ในอาณาบริเวณนั้นไม่สามารถพัฒนาเป็นมหาอำนาจทางทะเลได้ แต่สภาพทางภูมิศาสตร์เช่นนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคขัดขวางรัฐเช่นนี้พัฒนาเป็นมหาอำนาจทางอากาศแต่อย่างใด ทฤษฎีทางภูมิศาสตร์มีลักษณะไม่ผิดอะไรไปจากทฤษฎีที่ใช้เหตุผลอย่างเดียวในการตีความทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายอย่างเช่นนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจเป็นต้น คือ ไม่สามารถใช้อธิบายพฤติกรรมมนุษย์อย่างสมบูรณ์เป็นที่น่าพอใจได้ อย่างไรก็ดีทฤษฎีทางภูมิศาสตร์นี้เป็นแนวทางที่มีประโยชน์ต่อการนำมาใช้ศึกษาการเมืองระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อนได้อย่างกว้างไกลได้ดียิ่งขึ้น
Geopolitics: Haushofer Geopolitik
ภูมิรัฐศาสตร์ : ยีโอโพลิติกของเฮาโชเฟอร์
ภูมิรัฐศาสตร์เยอรมันสาขาหนึ่งที่ได้พัฒนาขึ้นมาโดยคาร์ล เฮาโชเฟอร์(1869-1946) นายพลชาวเยอรมัน ที่เป็นทั้งนักภูมิศาสตร์ พักปฐพีวิทยา นักประวัติศาสตร์ และนักท่องเที่ยวในภูมิภาคตะวันออกไกล ยีโอโพลิติกของพลตรีเฮาโชเฟอร์นี้มีจุดเริ่มจากทฤษฎีดินแดนหัวใจ (ฮาร์ทแลนด์ เทียออรี)ของนักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ เซอร์ฮัลฟอร์ด เจ. แมคคินเดอร์ และจากแนวความคิดเกี่ยวกับเทศะ(สเพซ) และรัฐอินทรีย์ (ออกานิค สเต็ต)ของฟีดริค รัตเซล และรูดอล์ฟ เจลเลน พลเอกเฮาโชเฟอร์และหมู่ศิษย์ที่สถาบันยีโอโพลิติกเมืองมิวนิค ได้ใช้แนวความคิดเหล่านี้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและได้วางแผนให้เยอรมนีสามารถเป็นผู้พิชิตได้ในอนาคต ในฐานะที่เป็นนายพลตรีในกองทัพบกเยอรมันเฮาโชเฟอร์มีความเห็นว่าอะดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และพรรคนาซีของเขาเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือให้เยอรมนีบรรลุถึงเป้าหมายแห่งความเป็นผู้พิชิตโลกได้ ข้างฝ่ายฮิตเลอร์เองก็ได้ใช้ยีโอโพลิติกของเฮาโชเฟอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือแนวความคิดเรื่องลีเบนสราอุม(เทศะที่มีชีวิต)มาเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของตนเองเหมือนกัน เฮาโชเฟอร์และสานุศิษย์ของเขาได้ใช้แนวทางในทฤษฎีดินแดนหัวใจมาสนับสนุนให้ให้มีการจัดตั้ง ค่ายเยอรมนี-รัสเซีย-ญี่ปุ่นขึ้นมา โดยในที่สุดแล้วเยอรมนีก็จะผงาดขึ้นมาเป็นหัวโจกใหญ่ในค่ายนี้ได้ นอกจากนี้แล้วเฮาโชเฟอร์ก็ยังมองเห็นว่าอานุภาพของเยอรมนีจะกระจัดกระจายอยู่ทั่วดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของรัสเซียโดยไม่มีความเป็นเอกภาพหากว่าฮิตเลอร์ดำเนินการไปตามแผนส่งกองทัพเยอรมันบุกเข้าไปในรัสเซีย แต่พอเฮาโชเฟอร์ได้พยายามชี้ชวนให้ฮิตเลอร์เลิกล้มแนวทางนี้ ฮิตเลอร์ก็ได้เลิกนิยมในตัวเขา และเขาได้ถูกนำตัวไปกักขังไว้ที่ค่ายกักกันแห่งหนึ่งในเมืองดาเชาเมื่อปี ค.ศ. 1944 ต่อมาเมื่อเยอรมนีพ่ายแพ้สงครามในปี ค.ศ. 1945 เขาก็ได้รับการปล่อยตัวจากค่ายกักกันแต่ก็ได้ทำอัตวินิบาตกรรม(ฆ่าตัวตาย)ในปีถัดมา
ความสำคัญ ยีโอโพลิติกของเฮาโชเฟอร์เป็นการผสมผสานเข้ากันในเชิงกึ่งวิทยาศาสตร์ ระหว่างอภิปรัชญาทางภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มานุษยวิทยา และคตินิยมเชื้อชาติ อย่างไรก็ดียีโอโพลิติกนี้ก็มีความสำคัญเพราะว่าเป็นที่ยอมรับของชาวเยอรมันจำนวนมากที่ตกอยู่ในสภาพเสียขวัญจากการที่เยอรมนีพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 แนวความคิดสำคัญของยีโอโพลิติกของเฮาโชเฟอร์มีดังนี้ คือ (1) วัตถุประสงค์ทางทหารของรัฐจะต้องใช้นโยบายพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ (2) เผ่าพันธุ์ที่ยิ่งใหญ่ของเยอรมันถูกกำหนดชะตากรรมให้นำสันติภาพมาสู่โลกโดยการครอบครองโลกส่วนรัฐอื่นๆก็จะต้องยินยอมให้เยอรมนีได้ลีเบนสราอุมตามที่ต้องการ (3) การปกครองของเยอรมันในอันดับแรกนั้นจะต้องขยายไปทั่วทุกดินแดนของเยอรมันทั้งในส่วนที่มีการใช้ภาษาเยอรมัน มีเผ่าพันธุ์เป็นคนเยอรมันหรือมีผลประโยชน์เป็นของเยอรมันก่อน ต่อจากนั้นไปก็ให้ขายอำนาจไปทั่วทั้งโลก (4)การที่เยอรมันจะสามารถครอบครองเกาะแอฟโฟร-ยูเรเซียได้สำเร็จนั้นก็จะต้องเอาชนะมหาอำนาจทางทะเลให้ได้โดยการเดินทัพทางบกที่ยาวไกลซึ่งก็จะทำให้เยอรมมีมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและทางทหารและจะเป็นฐานให้สามารถครอบครองโลกได้อย่างสมบูรณ์ และ(5) พรมแดนทั้งหลายทั้งปวงมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามและจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามบงการของผลประโยชน์แห่งชาติเยอรมัน วงการศึกษาภูมิรัฐศาสตร์ได้รับความเสื่อมเสียไปมากจากการที่ได้มีการนำเอายีโอโพลิติกนี้มาใช้เป็นข้ออ้างเพื่อการขยายดินแดนของเยรมัน
ภูมิรัฐศาสตร์เยอรมันสาขาหนึ่งที่ได้พัฒนาขึ้นมาโดยคาร์ล เฮาโชเฟอร์(1869-1946) นายพลชาวเยอรมัน ที่เป็นทั้งนักภูมิศาสตร์ พักปฐพีวิทยา นักประวัติศาสตร์ และนักท่องเที่ยวในภูมิภาคตะวันออกไกล ยีโอโพลิติกของพลตรีเฮาโชเฟอร์นี้มีจุดเริ่มจากทฤษฎีดินแดนหัวใจ (ฮาร์ทแลนด์ เทียออรี)ของนักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ เซอร์ฮัลฟอร์ด เจ. แมคคินเดอร์ และจากแนวความคิดเกี่ยวกับเทศะ(สเพซ) และรัฐอินทรีย์ (ออกานิค สเต็ต)ของฟีดริค รัตเซล และรูดอล์ฟ เจลเลน พลเอกเฮาโชเฟอร์และหมู่ศิษย์ที่สถาบันยีโอโพลิติกเมืองมิวนิค ได้ใช้แนวความคิดเหล่านี้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและได้วางแผนให้เยอรมนีสามารถเป็นผู้พิชิตได้ในอนาคต ในฐานะที่เป็นนายพลตรีในกองทัพบกเยอรมันเฮาโชเฟอร์มีความเห็นว่าอะดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และพรรคนาซีของเขาเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือให้เยอรมนีบรรลุถึงเป้าหมายแห่งความเป็นผู้พิชิตโลกได้ ข้างฝ่ายฮิตเลอร์เองก็ได้ใช้ยีโอโพลิติกของเฮาโชเฟอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือแนวความคิดเรื่องลีเบนสราอุม(เทศะที่มีชีวิต)มาเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของตนเองเหมือนกัน เฮาโชเฟอร์และสานุศิษย์ของเขาได้ใช้แนวทางในทฤษฎีดินแดนหัวใจมาสนับสนุนให้ให้มีการจัดตั้ง ค่ายเยอรมนี-รัสเซีย-ญี่ปุ่นขึ้นมา โดยในที่สุดแล้วเยอรมนีก็จะผงาดขึ้นมาเป็นหัวโจกใหญ่ในค่ายนี้ได้ นอกจากนี้แล้วเฮาโชเฟอร์ก็ยังมองเห็นว่าอานุภาพของเยอรมนีจะกระจัดกระจายอยู่ทั่วดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของรัสเซียโดยไม่มีความเป็นเอกภาพหากว่าฮิตเลอร์ดำเนินการไปตามแผนส่งกองทัพเยอรมันบุกเข้าไปในรัสเซีย แต่พอเฮาโชเฟอร์ได้พยายามชี้ชวนให้ฮิตเลอร์เลิกล้มแนวทางนี้ ฮิตเลอร์ก็ได้เลิกนิยมในตัวเขา และเขาได้ถูกนำตัวไปกักขังไว้ที่ค่ายกักกันแห่งหนึ่งในเมืองดาเชาเมื่อปี ค.ศ. 1944 ต่อมาเมื่อเยอรมนีพ่ายแพ้สงครามในปี ค.ศ. 1945 เขาก็ได้รับการปล่อยตัวจากค่ายกักกันแต่ก็ได้ทำอัตวินิบาตกรรม(ฆ่าตัวตาย)ในปีถัดมา
ความสำคัญ ยีโอโพลิติกของเฮาโชเฟอร์เป็นการผสมผสานเข้ากันในเชิงกึ่งวิทยาศาสตร์ ระหว่างอภิปรัชญาทางภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มานุษยวิทยา และคตินิยมเชื้อชาติ อย่างไรก็ดียีโอโพลิติกนี้ก็มีความสำคัญเพราะว่าเป็นที่ยอมรับของชาวเยอรมันจำนวนมากที่ตกอยู่ในสภาพเสียขวัญจากการที่เยอรมนีพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 แนวความคิดสำคัญของยีโอโพลิติกของเฮาโชเฟอร์มีดังนี้ คือ (1) วัตถุประสงค์ทางทหารของรัฐจะต้องใช้นโยบายพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ (2) เผ่าพันธุ์ที่ยิ่งใหญ่ของเยอรมันถูกกำหนดชะตากรรมให้นำสันติภาพมาสู่โลกโดยการครอบครองโลกส่วนรัฐอื่นๆก็จะต้องยินยอมให้เยอรมนีได้ลีเบนสราอุมตามที่ต้องการ (3) การปกครองของเยอรมันในอันดับแรกนั้นจะต้องขยายไปทั่วทุกดินแดนของเยอรมันทั้งในส่วนที่มีการใช้ภาษาเยอรมัน มีเผ่าพันธุ์เป็นคนเยอรมันหรือมีผลประโยชน์เป็นของเยอรมันก่อน ต่อจากนั้นไปก็ให้ขายอำนาจไปทั่วทั้งโลก (4)การที่เยอรมันจะสามารถครอบครองเกาะแอฟโฟร-ยูเรเซียได้สำเร็จนั้นก็จะต้องเอาชนะมหาอำนาจทางทะเลให้ได้โดยการเดินทัพทางบกที่ยาวไกลซึ่งก็จะทำให้เยอรมมีมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและทางทหารและจะเป็นฐานให้สามารถครอบครองโลกได้อย่างสมบูรณ์ และ(5) พรมแดนทั้งหลายทั้งปวงมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามและจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามบงการของผลประโยชน์แห่งชาติเยอรมัน วงการศึกษาภูมิรัฐศาสตร์ได้รับความเสื่อมเสียไปมากจากการที่ได้มีการนำเอายีโอโพลิติกนี้มาใช้เป็นข้ออ้างเพื่อการขยายดินแดนของเยรมัน
Geopolitics : Heartland Theory
ภูมิรัฐศาสตร์ : ทฤษฎีหัวใจ
ทฤษฎีที่ว่ารัฐซึ่งสามารถครอบครองทรัพยากรทางมนุษย์และทางกายภาพของผืนแผ่นดินใหญ่ในยูเรเซียซึ่งอยู่ระหว่างเยอรมนีกับไซบีเรียตอนกลางได้ก็จะอยู่ในฐานะครอบครองโลกได้ ทฤษฎีหัวใจนี้ได้รับการพัฒนาโดยนักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ เซอร์ฮัลฟอร์ด เจ. แมคคินเดอร์ (1869-1947) ในบทความของเขาชื่อ“หัวใจทางภูมิศาสตร์ของประวัติศาสตร์”(1904) และในงานเขียนที่โด่งดังของเขา คือ อุดมคติประชาธิปไตยและความเป็นจริง: การศึกษารัฐศาสตร์ของการฟื้นฟู (1919) ทฤษฎีหัวใจนี้เกิดขึ้นมาได้ก็เพราะผลจากการที่แมคคินเดอร์ได้ทำการศึกษาสัมพันธภาพในระดับโลกระหว่างมหาอำนาจทางบกกับมหาอำนาจทางทะเล
ความสำคัญ แมคคินเดอร์ได้ตั้งข้อสมมติฐานขึ้นมาว่า มีข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์บางอย่างมีอิทธิพลอย่างยิ่งยวดต่อแนวทางของการเมืองโลก ข้อเท็จจริงที่เขาพูดถึงนี้ ได้แก่ (1) มี“เกาะโลก” (ยุโรป,เอเชีย และแอฟริกา) อยู่ล้อมรอบ”ดินแดนหัวใจ” หรือ”พื้นที่หัวใจ” ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้จากทางทะเล (2) มีดินแดนชายฝั่งทะเลของเกาะโลกนี้ คือ “ดินแดนภายใน” หรือ”ดินแดนเกือบเป็นรูปวงเดือน” ประกอบกันเป็นมหาอำนาจทางทะเล และ (3) มีฐานอำนาจของเกาะ ประกอบด้วย อเมริกาเหนือและใต้ กับออสเตรเลีย เรียกว่า “อินซูลาร์” หรือ”วงเดือนรอบนอก” แมคคินเดอร์มีสมมติฐานว่า มหาอำนาจทางบกจะเจริญเติบโตข้นเรื่อยๆจนเข้าครอบงำมหาอำนาจทางทะเล เขาจึงได้เตือนไว้ว่า “ใครครอบครองยุโรปตะวันออกได้ก็จะครอบครองดินแดนหัวใจ;ใครครอบครองดินแดนหัวใจได้ก็จะครอบครองเกาะโลก; ใครครอบครองเกาะโลกได้ก็จะครอบครองโลก” แมคคินเดอร์ได้ประกาศสนับสนุนนโยบายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างดุลยภาพแห่งอำนาจระหว่างมหาอำนาจทางบกกับมหาอำนาจทางทะเลทั้งนี้ก็เพื่อที่จะไม่ให้ประเทศใดประเทศหนึ่งอยู่ในฐานะที่จะเข้าครอบงำดินแดนหัวใจนั้นได้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แมคคินเดอร์ได้ปรับปรุงทฤษฎีของเขาเพื่อให้สามารถนำไปใช้ศึกษาพัฒนาการอานุภาพทางทะเลและการเติบโตทางอำนาจชาติของสหรัฐอเมริกาที่ตั้งอยู่ภายนอกเกาะโลกนั้น ในปี ค.ศ. 1919 เขาได้เตือนถึงผลที่จะตามมาหากเยอรมนีสามารถครอบครองสหภาพโซเวียตได้ และเมื่อปี ค.ศ. 1943 เขาก็ได้เตือนถึงผลที่จะตามมาหากสหภาพโซเวียตสามารถครอบครองเยอรมนีได้ แนววิเคราะห์ของแมคคินเดอร์นี้ก็ยังสามารถนำมาใช้กับโลกปัจจุบันได้โดยใช้อธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมสหรัฐอเมริกาต้องดำเนินนโยบายปิดล้อมคอมมิวนิสต์ หรือใช้อธิบายถึงผลที่จะตามมาจากการรวมตัวอย่างใกล้ชิดของสหภาพโซเวียตและจีน
ทฤษฎีที่ว่ารัฐซึ่งสามารถครอบครองทรัพยากรทางมนุษย์และทางกายภาพของผืนแผ่นดินใหญ่ในยูเรเซียซึ่งอยู่ระหว่างเยอรมนีกับไซบีเรียตอนกลางได้ก็จะอยู่ในฐานะครอบครองโลกได้ ทฤษฎีหัวใจนี้ได้รับการพัฒนาโดยนักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ เซอร์ฮัลฟอร์ด เจ. แมคคินเดอร์ (1869-1947) ในบทความของเขาชื่อ“หัวใจทางภูมิศาสตร์ของประวัติศาสตร์”(1904) และในงานเขียนที่โด่งดังของเขา คือ อุดมคติประชาธิปไตยและความเป็นจริง: การศึกษารัฐศาสตร์ของการฟื้นฟู (1919) ทฤษฎีหัวใจนี้เกิดขึ้นมาได้ก็เพราะผลจากการที่แมคคินเดอร์ได้ทำการศึกษาสัมพันธภาพในระดับโลกระหว่างมหาอำนาจทางบกกับมหาอำนาจทางทะเล
ความสำคัญ แมคคินเดอร์ได้ตั้งข้อสมมติฐานขึ้นมาว่า มีข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์บางอย่างมีอิทธิพลอย่างยิ่งยวดต่อแนวทางของการเมืองโลก ข้อเท็จจริงที่เขาพูดถึงนี้ ได้แก่ (1) มี“เกาะโลก” (ยุโรป,เอเชีย และแอฟริกา) อยู่ล้อมรอบ”ดินแดนหัวใจ” หรือ”พื้นที่หัวใจ” ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้จากทางทะเล (2) มีดินแดนชายฝั่งทะเลของเกาะโลกนี้ คือ “ดินแดนภายใน” หรือ”ดินแดนเกือบเป็นรูปวงเดือน” ประกอบกันเป็นมหาอำนาจทางทะเล และ (3) มีฐานอำนาจของเกาะ ประกอบด้วย อเมริกาเหนือและใต้ กับออสเตรเลีย เรียกว่า “อินซูลาร์” หรือ”วงเดือนรอบนอก” แมคคินเดอร์มีสมมติฐานว่า มหาอำนาจทางบกจะเจริญเติบโตข้นเรื่อยๆจนเข้าครอบงำมหาอำนาจทางทะเล เขาจึงได้เตือนไว้ว่า “ใครครอบครองยุโรปตะวันออกได้ก็จะครอบครองดินแดนหัวใจ;ใครครอบครองดินแดนหัวใจได้ก็จะครอบครองเกาะโลก; ใครครอบครองเกาะโลกได้ก็จะครอบครองโลก” แมคคินเดอร์ได้ประกาศสนับสนุนนโยบายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างดุลยภาพแห่งอำนาจระหว่างมหาอำนาจทางบกกับมหาอำนาจทางทะเลทั้งนี้ก็เพื่อที่จะไม่ให้ประเทศใดประเทศหนึ่งอยู่ในฐานะที่จะเข้าครอบงำดินแดนหัวใจนั้นได้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แมคคินเดอร์ได้ปรับปรุงทฤษฎีของเขาเพื่อให้สามารถนำไปใช้ศึกษาพัฒนาการอานุภาพทางทะเลและการเติบโตทางอำนาจชาติของสหรัฐอเมริกาที่ตั้งอยู่ภายนอกเกาะโลกนั้น ในปี ค.ศ. 1919 เขาได้เตือนถึงผลที่จะตามมาหากเยอรมนีสามารถครอบครองสหภาพโซเวียตได้ และเมื่อปี ค.ศ. 1943 เขาก็ได้เตือนถึงผลที่จะตามมาหากสหภาพโซเวียตสามารถครอบครองเยอรมนีได้ แนววิเคราะห์ของแมคคินเดอร์นี้ก็ยังสามารถนำมาใช้กับโลกปัจจุบันได้โดยใช้อธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมสหรัฐอเมริกาต้องดำเนินนโยบายปิดล้อมคอมมิวนิสต์ หรือใช้อธิบายถึงผลที่จะตามมาจากการรวมตัวอย่างใกล้ชิดของสหภาพโซเวียตและจีน
Geopolitics: Rimland Theory
ภูมิรัฐศาสตร์ : ทฤษฎีขอบนอก
ทฤษฎีที่เน้นย้ำว่าดินแดนขอบนอกต่างๆของยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียใต้ และตะวันออกไกลเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่ความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ทฤษฎีขอบนอกนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยนักภูมิศาสตร์และนักภูมิรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ นิโคลาส เจ. สปิ๊กแมน (1893-1943) ในหนังสือของเขาที่ชื่อ ภูมิศาสตร์แห่งสันติภาพ(1944) สปิ๊กแมนได้พัฒนาทฤษฎีโดยอิงแนวความคิดในเรื่องขอบนอกนี้ทั้งนี้โดยสอดประสานไปกับแนวความคิดเรื่องวงเดือนรอบในของนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษที่ชื่อ เซอร์ฮัลฟอร์ด แมคคินเดอร์ เพียงแต่ได้ดัดแปลงและเรียกชื่อเสียใหม่เท่านั้นเอง สปิ๊กแมนมีข้อสมมติฐานว่า การครอบงำดินแดนขอบนอกเหล่านี้ ณ ที่ใดที่หนึ่งโดยมหาอำนาจที่เป็นศัตรูจะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา เพราะว่าจากจุดนั้นไปจะทำให้มหาอำนาจนั้นมีสถานะที่สามารถโอบล้อมโลกใหม่ไว้ได้ สปิ๊กแมนได้ดัดแปลงแก้ไขถ้อยคำอันโด่งดังของแมคคินเดอร์เสียใหม่เป็นว่า “ใครครอบครองดินแดนขอบนอกก็จะครอบครองยูเรเซียได้; ใครครอบครองยูเรเซียได้ก็จะครอบครองชะตากรรมของโลกได้”
ความสำคัญ ในการพัฒนาทฤษฎีขอบนอกนี้ สปิ๊กแมนได้ให้ความสนใจที่จะให้สหรัฐยอบรับในสิ่งต่อไปนี้ คือ (1) ให้แต่ละรัฐรับผิดชอบต่อความมั่นคงของตนเองในขั้นสุดท้าย (2) ให้ความสำคัญต่อดุลอำนาจโลก และ(3) ความจำเป็นที่จะต้องเพื่มพูนอำนาจของสหรัฐอเมริกาเพื่อสร้างเสถียรภาพดุลอำนาจโลกดังกล่าว ในการวิเคราะห์ปัจจัยของความมั่นคงของสหรัฐอเมริกานี้ได้นำปัจจัยต่างๆมาพิจารณาอย่างกว้างขวางดังนี้ คือ (1) ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ กล่าวคือ ที่ตั้ง, ขนาด, ภูมิประเทศ (2) ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ กล่าวคือ ทรัพยากรทางการเกษตรและทรัพยากรทางด้านอุตสาหกรรม, ประชากร, การผลิตทางอุตสาหกรรม และ (3) ปัจจัยทางการเมือง กล่าวคือ ขวัญของชาติ, เสถียรภาพทางการเมือง และบูรณาการทางสังคม เมื่อเป็นเช่นนี้สปิ๊กแมนจึงมิได้ใช้ปัจจัยทางภูมิศาสตร์อย่างเดียวมาวิเคราะห์ เพียงแต่เขาได้เน้นย้ำว่าภูมิศาสตร์เป็น”ปัจจัยสร้างเงื่อนไขสำคัญต่อนโยบายต่างประเทศ”
ทฤษฎีที่เน้นย้ำว่าดินแดนขอบนอกต่างๆของยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียใต้ และตะวันออกไกลเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่ความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ทฤษฎีขอบนอกนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยนักภูมิศาสตร์และนักภูมิรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ นิโคลาส เจ. สปิ๊กแมน (1893-1943) ในหนังสือของเขาที่ชื่อ ภูมิศาสตร์แห่งสันติภาพ(1944) สปิ๊กแมนได้พัฒนาทฤษฎีโดยอิงแนวความคิดในเรื่องขอบนอกนี้ทั้งนี้โดยสอดประสานไปกับแนวความคิดเรื่องวงเดือนรอบในของนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษที่ชื่อ เซอร์ฮัลฟอร์ด แมคคินเดอร์ เพียงแต่ได้ดัดแปลงและเรียกชื่อเสียใหม่เท่านั้นเอง สปิ๊กแมนมีข้อสมมติฐานว่า การครอบงำดินแดนขอบนอกเหล่านี้ ณ ที่ใดที่หนึ่งโดยมหาอำนาจที่เป็นศัตรูจะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา เพราะว่าจากจุดนั้นไปจะทำให้มหาอำนาจนั้นมีสถานะที่สามารถโอบล้อมโลกใหม่ไว้ได้ สปิ๊กแมนได้ดัดแปลงแก้ไขถ้อยคำอันโด่งดังของแมคคินเดอร์เสียใหม่เป็นว่า “ใครครอบครองดินแดนขอบนอกก็จะครอบครองยูเรเซียได้; ใครครอบครองยูเรเซียได้ก็จะครอบครองชะตากรรมของโลกได้”
ความสำคัญ ในการพัฒนาทฤษฎีขอบนอกนี้ สปิ๊กแมนได้ให้ความสนใจที่จะให้สหรัฐยอบรับในสิ่งต่อไปนี้ คือ (1) ให้แต่ละรัฐรับผิดชอบต่อความมั่นคงของตนเองในขั้นสุดท้าย (2) ให้ความสำคัญต่อดุลอำนาจโลก และ(3) ความจำเป็นที่จะต้องเพื่มพูนอำนาจของสหรัฐอเมริกาเพื่อสร้างเสถียรภาพดุลอำนาจโลกดังกล่าว ในการวิเคราะห์ปัจจัยของความมั่นคงของสหรัฐอเมริกานี้ได้นำปัจจัยต่างๆมาพิจารณาอย่างกว้างขวางดังนี้ คือ (1) ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ กล่าวคือ ที่ตั้ง, ขนาด, ภูมิประเทศ (2) ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ กล่าวคือ ทรัพยากรทางการเกษตรและทรัพยากรทางด้านอุตสาหกรรม, ประชากร, การผลิตทางอุตสาหกรรม และ (3) ปัจจัยทางการเมือง กล่าวคือ ขวัญของชาติ, เสถียรภาพทางการเมือง และบูรณาการทางสังคม เมื่อเป็นเช่นนี้สปิ๊กแมนจึงมิได้ใช้ปัจจัยทางภูมิศาสตร์อย่างเดียวมาวิเคราะห์ เพียงแต่เขาได้เน้นย้ำว่าภูมิศาสตร์เป็น”ปัจจัยสร้างเงื่อนไขสำคัญต่อนโยบายต่างประเทศ”
Geopolitics: Sea Power Theory
ภูมิรัฐศาสตร์:ทฤษฎีอำนาจทางทะเล
ทฤษฎีที่มีสมมติฐานว่าอำนาจทางเรือจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่อำนาจโลกได้ อำนาจทางทะเลในฐานะเป็นรากฐานของทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นครั้งแรกโดยนายทหารเรือชาวอเมริกันชื่อว่า พลเรือเอก อัลเฟรด ทาเยอร์ มาฮาน (1840-1914) โดยผ่านทางแนวความคิดของเขาว่า ทะเลต่างๆของโลกทำหน้าที่เชื่อมผืนแผ่นดินใหญ่เข้าด้วยกันยิ่งกว่าที่จะไปแยกมันออกจากกัน ดังนั้นการแสวงหาและการปกป้องจักรวรรดิต่างๆในโพ้นทะเลจะกระทำได้ก็ต้องอาศัยความสามารถในการควบคุมทะเล ลักษณะสำคัญของงานเขียนของพลเรือเอกมาฮานมีดังนี้ (1) เป็นการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางเรือของอังกฤษที่อธิบายถึงบทบาทของบริเตนใหญ่(อังกฤษ) ในฐานะเป็นมหาอำนาจโลก (2) มีความยึดมั่นต่อแนวความคิดว่าภารกิจในระดับโลกของสหรัฐอเมริกาจะดำเนินไปได้ก็โดยการขยายอำนาจไปยังภาคโพ้นทะเล และ(3) การหาเหตุผลมาอ้างว่าจักรวรรดินิยมเป็นสิ่งสมควรโดยมีสมมติฐานว่า ประเทศต่างๆจะอยู่นิ่งๆในด้านเทศะไม่ได้ แต่จะต้องขยายตัวออกไปมิฉะนั้นแล้วก็จะเสื่อมสลายไปได้
ความสำคัญ การใช้ทฤษฎีอำนาจทางทะเลมาวิเคราะห์สหรัฐอเมริกานี้มีรากฐานมาจากทัศนะของพลเอกมาฮานที่เห็นว่าที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐอเมริกามีข้อคล้ายคลึงกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของบริเตนใหญ่(อังกฤษ) มาฮานเห็นว่ามหาอำนาจทางบกของยุโรปพร้อมกับเพื่อนบ้านที่เข้มแข็งไม่สามารถท้าทายความยิ่งใหญ่ทางทะเลของบริเตนใหญ่หรือของสหรัฐอเมริกาได้เพราะว่าจะต้องได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังทางบกที่ยิ่งใหญ่มากจึงจะทำได้ มาฮานได้สรุปลงว่า ความยิ่งใหญ่ทางเรือของอังกฤษไม่ยั่งยืนถาวรและว่า สหรัฐอเมริกาสามารถสถาปนาความยิ่งใหญ่ของตนขึ้นมาในทะเลคาริบเบียนและในมหาสมุทรแปซิฟิกได้ หนังสือของมาฮานที่ชื่อ อิทธิพลของอำนาจทางทะเลต่อประวัติศาสตร์ ระหว่างปี ค.ศ.1660-1783 (1890) นี้มีนักนิยมขยายดินแดนหลายชั่วคนนำมาอ่านกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาและในเยอรมนี ความคิดของมาฮานยังคงมีความสอดคล้องต้องกันในประเด็นที่ว่า รัฐต่างๆที่มีผลประโยชน์กระจายอยู่ทั่วโลกนั้นจะต้องมีความสามารถที่ส่งกำลังและใช้อำนาจของตนอย่างมีประสิทธิผลในที่ใกลมากๆจากดินแดนเมืองแม่ของตน
ทฤษฎีที่มีสมมติฐานว่าอำนาจทางเรือจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่อำนาจโลกได้ อำนาจทางทะเลในฐานะเป็นรากฐานของทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นครั้งแรกโดยนายทหารเรือชาวอเมริกันชื่อว่า พลเรือเอก อัลเฟรด ทาเยอร์ มาฮาน (1840-1914) โดยผ่านทางแนวความคิดของเขาว่า ทะเลต่างๆของโลกทำหน้าที่เชื่อมผืนแผ่นดินใหญ่เข้าด้วยกันยิ่งกว่าที่จะไปแยกมันออกจากกัน ดังนั้นการแสวงหาและการปกป้องจักรวรรดิต่างๆในโพ้นทะเลจะกระทำได้ก็ต้องอาศัยความสามารถในการควบคุมทะเล ลักษณะสำคัญของงานเขียนของพลเรือเอกมาฮานมีดังนี้ (1) เป็นการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางเรือของอังกฤษที่อธิบายถึงบทบาทของบริเตนใหญ่(อังกฤษ) ในฐานะเป็นมหาอำนาจโลก (2) มีความยึดมั่นต่อแนวความคิดว่าภารกิจในระดับโลกของสหรัฐอเมริกาจะดำเนินไปได้ก็โดยการขยายอำนาจไปยังภาคโพ้นทะเล และ(3) การหาเหตุผลมาอ้างว่าจักรวรรดินิยมเป็นสิ่งสมควรโดยมีสมมติฐานว่า ประเทศต่างๆจะอยู่นิ่งๆในด้านเทศะไม่ได้ แต่จะต้องขยายตัวออกไปมิฉะนั้นแล้วก็จะเสื่อมสลายไปได้
ความสำคัญ การใช้ทฤษฎีอำนาจทางทะเลมาวิเคราะห์สหรัฐอเมริกานี้มีรากฐานมาจากทัศนะของพลเอกมาฮานที่เห็นว่าที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐอเมริกามีข้อคล้ายคลึงกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของบริเตนใหญ่(อังกฤษ) มาฮานเห็นว่ามหาอำนาจทางบกของยุโรปพร้อมกับเพื่อนบ้านที่เข้มแข็งไม่สามารถท้าทายความยิ่งใหญ่ทางทะเลของบริเตนใหญ่หรือของสหรัฐอเมริกาได้เพราะว่าจะต้องได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังทางบกที่ยิ่งใหญ่มากจึงจะทำได้ มาฮานได้สรุปลงว่า ความยิ่งใหญ่ทางเรือของอังกฤษไม่ยั่งยืนถาวรและว่า สหรัฐอเมริกาสามารถสถาปนาความยิ่งใหญ่ของตนขึ้นมาในทะเลคาริบเบียนและในมหาสมุทรแปซิฟิกได้ หนังสือของมาฮานที่ชื่อ อิทธิพลของอำนาจทางทะเลต่อประวัติศาสตร์ ระหว่างปี ค.ศ.1660-1783 (1890) นี้มีนักนิยมขยายดินแดนหลายชั่วคนนำมาอ่านกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาและในเยอรมนี ความคิดของมาฮานยังคงมีความสอดคล้องต้องกันในประเด็นที่ว่า รัฐต่างๆที่มีผลประโยชน์กระจายอยู่ทั่วโลกนั้นจะต้องมีความสามารถที่ส่งกำลังและใช้อำนาจของตนอย่างมีประสิทธิผลในที่ใกลมากๆจากดินแดนเมืองแม่ของตน
Green Revolution
การปฏิวัติทางกสิกรรม
การเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในการผลิตทางเกษตรกรรมที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อทศวรรษหลังปี 1960 โดยวิธีพัฒนาเมล็ดข้าวสาลีและเมล็ดข้าวเจ้าที่ให้ผลผลิตสูงพันธุ์ใหม่ๆตลอดจนมีการใช้น้ำและปุ๋ยในปริมาณมากๆด้วย การปฏิวัติทางกสิกรรมได้ถูกกรุยทางโดยนักพันธุกรรมศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลชื่อ นอร์แมน อี.บอร์ลาค โดยเขาได้ริเริ่มการทดลองต่างๆจนได้พันธุ์พืชพันธุ์ใหม่เหล่านี้เป็นคนแรก ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาอาหารมาช่วยขจัดวงจรแห่งความอดอยากหิวโหยของประชากรในประเทศกลุ่มโลกที่สามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือประเทศต่างๆในแถบเอเชียและแอฟริกา
ความสำคัญ ความสำเร็จในช่วงแรกๆของการปฏิวัติทางกสิกรรม คือ การทำให้การผลิตอาหารในหลายประเทศทั้งในเอเชียและแอฟริการะหว่างทศวรรษหลังปี 1960 เพิ่มขึ้นมาเป็นสองเท่าก็มีเป็นสามเท่าก็มี ในช่วงระหว่างทศวรรษหลังปี 1970 และทศวรรษหลังปี 1980 แม้ว่าจะต้องใช้ต้นทุนของพลังงานสูงขึ้นมามากเพื่อผลิตปุ๋ยและสูบน้ำ แต่การผลิตอาหารก็ได้เพิ่มขึ้นมามากอีกเช่นกัน อย่างไรก็ดีเมื่อเกิดความแห้งแล้งในบางพื้นที่ก็ได้ทำให้ผลผลิตลดน้อยลงไปบ้าง พอถึงปลายทศวรรษหลังปี 1980 ผลผลิตทางเกษตรกรรมในทวีปแอฟริกาไม่พอกับจำนวนประชากรที่เกิดขึ้นมามากเหลือเกิน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในขณะนี้กำลังพยายามจะทำการปฏิวัติทางกสิกรรมเป็นครั้งที่สอง เพื่อนำมาใช้กับโลกที่กำลังขาดแคลนพลังงานอย่างเช่นทุกวันนี้ ยกตัวอย่างเช่น พวกเขากำลังพัฒนาพันธ์พืชพันธุ์ใหม่ที่สามารถผลิตผลผลิตปีละสองหนแทนที่จะเป็นหนเดียวอย่างแต่ก่อน นอกจากนั้นแล้วพวกเขาก็ยังได้พยายามหาหญ้าและต้นไม้ต่างๆมาทดลองปลูกปนไปกับข้าวสาลีและข้าวเจ้าเพื่อให้หญ้าและพืชเหล่านี้เป็นปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับข้าวสาลีและข้าวเจ้านั้น ความพยายามที่จะปฏิวัติทางกสิกรรมครั้งที่สองนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันในระดับโลกที่จะพัฒนาวิธีการที่จะนำมาใช้เพื่อสนับสนุนประชากรที่มีอัตราการเกิดมากกว่าการตายจนทำให้ประชากรล้นโลกอยู่ในปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในการผลิตทางเกษตรกรรมที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อทศวรรษหลังปี 1960 โดยวิธีพัฒนาเมล็ดข้าวสาลีและเมล็ดข้าวเจ้าที่ให้ผลผลิตสูงพันธุ์ใหม่ๆตลอดจนมีการใช้น้ำและปุ๋ยในปริมาณมากๆด้วย การปฏิวัติทางกสิกรรมได้ถูกกรุยทางโดยนักพันธุกรรมศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลชื่อ นอร์แมน อี.บอร์ลาค โดยเขาได้ริเริ่มการทดลองต่างๆจนได้พันธุ์พืชพันธุ์ใหม่เหล่านี้เป็นคนแรก ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาอาหารมาช่วยขจัดวงจรแห่งความอดอยากหิวโหยของประชากรในประเทศกลุ่มโลกที่สามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือประเทศต่างๆในแถบเอเชียและแอฟริกา
ความสำคัญ ความสำเร็จในช่วงแรกๆของการปฏิวัติทางกสิกรรม คือ การทำให้การผลิตอาหารในหลายประเทศทั้งในเอเชียและแอฟริการะหว่างทศวรรษหลังปี 1960 เพิ่มขึ้นมาเป็นสองเท่าก็มีเป็นสามเท่าก็มี ในช่วงระหว่างทศวรรษหลังปี 1970 และทศวรรษหลังปี 1980 แม้ว่าจะต้องใช้ต้นทุนของพลังงานสูงขึ้นมามากเพื่อผลิตปุ๋ยและสูบน้ำ แต่การผลิตอาหารก็ได้เพิ่มขึ้นมามากอีกเช่นกัน อย่างไรก็ดีเมื่อเกิดความแห้งแล้งในบางพื้นที่ก็ได้ทำให้ผลผลิตลดน้อยลงไปบ้าง พอถึงปลายทศวรรษหลังปี 1980 ผลผลิตทางเกษตรกรรมในทวีปแอฟริกาไม่พอกับจำนวนประชากรที่เกิดขึ้นมามากเหลือเกิน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในขณะนี้กำลังพยายามจะทำการปฏิวัติทางกสิกรรมเป็นครั้งที่สอง เพื่อนำมาใช้กับโลกที่กำลังขาดแคลนพลังงานอย่างเช่นทุกวันนี้ ยกตัวอย่างเช่น พวกเขากำลังพัฒนาพันธ์พืชพันธุ์ใหม่ที่สามารถผลิตผลผลิตปีละสองหนแทนที่จะเป็นหนเดียวอย่างแต่ก่อน นอกจากนั้นแล้วพวกเขาก็ยังได้พยายามหาหญ้าและต้นไม้ต่างๆมาทดลองปลูกปนไปกับข้าวสาลีและข้าวเจ้าเพื่อให้หญ้าและพืชเหล่านี้เป็นปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับข้าวสาลีและข้าวเจ้านั้น ความพยายามที่จะปฏิวัติทางกสิกรรมครั้งที่สองนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันในระดับโลกที่จะพัฒนาวิธีการที่จะนำมาใช้เพื่อสนับสนุนประชากรที่มีอัตราการเกิดมากกว่าการตายจนทำให้ประชากรล้นโลกอยู่ในปัจจุบัน
International Fund for Agricultural Development( IFAD)
กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม(ไอเอฟเอดี)
องค์กรที่เริ่มต้นขึ้นมาในปี ค.ศ. 1977 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาเงินประเภทให้เปล่าและเงินกู้เพื่อช่วยเหลือในการเพิ่มการผลิตอาหารในประเทศกลุ่มโลกที่สามที่กำลังขาดแคลนอย่างหนัก กองทุนไอเอฟเอดีเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติทำงานอยู่ภายใต้การกำกับของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม กับสมัชชาใหญ่ เงินที่นำมาใช้เป็นเงินกองทุนของไอเอฟเอดีนี้ส่วนใหญ่ได้มาจากเงินบริจาคของประเทศกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก)และจากกลุ่มประเทศตะวันตก คณะมนตรีการปกครองของกองทุนไอเอฟเอดีประกอบด้วยผู้แทนสามฝ่ายที่ได้สมดุลกัน คือ (1)ผู้แทนจากประเทศผู้บริจาคที่พัฒนาแล้ว(ส่วนใหญ่คือกลุ่มประเทศตะวันตกและญี่ปุ่น) (2) ผู้แทนประเทศผู้บริจาคที่กำลังพัฒนา(ส่วนใหญ่คือกลุ่มประเทศโอเปก) และ(3) ผู้แทนประเทศผู้รับที่กำลังพัฒนา(คือ กลุ่มประเทศในโลกที่สามและในโลกที่สี่)
ความสำคัญ กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมนี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อสนองตอบต่อปัญหาทุพภิกขภัยและปัญหาทุโภชนาการที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงมากในประเทศกำลังพัฒนาอันสืบเนื่องมาจากประชากรล้นโลก สภาพทางอากาศเลวร้าย การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์พืชและปุ๋ย ตลอดจนปัจจัยอื่นๆที่เป็นข้อไปจำกัดการผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหาร แนวความคิดให้มีการจัดตั้งองค์กรพิเศษมาทำหน้าที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมนี้เกิดขึ้นมาจากการประชุมเรื่องอาหารโลกที่กรุงโรมเมื่อปี ค.ศ. 1974 ระบบการจัดหาเงินทุนนี้สามารถทำงานไปได้ด้วยดีในช่วงระยะแรกๆ โดยสามารถจัดหาเงินทุนได้จำนวนหลายพันล้านดอลล่าร์เพื่อการพัฒนาทางเกษตรกรรม แต่เมื่อราคาน้ำมันตกลงมากก็จึงทำให้กลุ่มชาติโอเป็กปฏิเสธที่จะบริจาคเงินจำนวนมากๆเหมือนในอดีต ความขัดแย้งกันเกี่ยวกับการจัดเงินกองทุนมีผลกระทบเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการทำงานในอนาคตของกองทุนไอเอฟเอดี
องค์กรที่เริ่มต้นขึ้นมาในปี ค.ศ. 1977 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาเงินประเภทให้เปล่าและเงินกู้เพื่อช่วยเหลือในการเพิ่มการผลิตอาหารในประเทศกลุ่มโลกที่สามที่กำลังขาดแคลนอย่างหนัก กองทุนไอเอฟเอดีเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติทำงานอยู่ภายใต้การกำกับของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม กับสมัชชาใหญ่ เงินที่นำมาใช้เป็นเงินกองทุนของไอเอฟเอดีนี้ส่วนใหญ่ได้มาจากเงินบริจาคของประเทศกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก)และจากกลุ่มประเทศตะวันตก คณะมนตรีการปกครองของกองทุนไอเอฟเอดีประกอบด้วยผู้แทนสามฝ่ายที่ได้สมดุลกัน คือ (1)ผู้แทนจากประเทศผู้บริจาคที่พัฒนาแล้ว(ส่วนใหญ่คือกลุ่มประเทศตะวันตกและญี่ปุ่น) (2) ผู้แทนประเทศผู้บริจาคที่กำลังพัฒนา(ส่วนใหญ่คือกลุ่มประเทศโอเปก) และ(3) ผู้แทนประเทศผู้รับที่กำลังพัฒนา(คือ กลุ่มประเทศในโลกที่สามและในโลกที่สี่)
ความสำคัญ กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมนี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อสนองตอบต่อปัญหาทุพภิกขภัยและปัญหาทุโภชนาการที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงมากในประเทศกำลังพัฒนาอันสืบเนื่องมาจากประชากรล้นโลก สภาพทางอากาศเลวร้าย การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์พืชและปุ๋ย ตลอดจนปัจจัยอื่นๆที่เป็นข้อไปจำกัดการผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหาร แนวความคิดให้มีการจัดตั้งองค์กรพิเศษมาทำหน้าที่สนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมนี้เกิดขึ้นมาจากการประชุมเรื่องอาหารโลกที่กรุงโรมเมื่อปี ค.ศ. 1974 ระบบการจัดหาเงินทุนนี้สามารถทำงานไปได้ด้วยดีในช่วงระยะแรกๆ โดยสามารถจัดหาเงินทุนได้จำนวนหลายพันล้านดอลล่าร์เพื่อการพัฒนาทางเกษตรกรรม แต่เมื่อราคาน้ำมันตกลงมากก็จึงทำให้กลุ่มชาติโอเป็กปฏิเสธที่จะบริจาคเงินจำนวนมากๆเหมือนในอดีต ความขัดแย้งกันเกี่ยวกับการจัดเงินกองทุนมีผลกระทบเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการทำงานในอนาคตของกองทุนไอเอฟเอดี
Malthusianism
คตินิยมมัลทูเซียน
ทฤษฎีที่มีสมมติฐานว่า ประชากรจะเพิ่มขึ้นในแบบเรขาคณิต( คือ 2, 4, 8, 16, 32….) แต่ปัจจัยการดำรงชีพเพิ่มขึ้นในแบบเลขคณิต (คือ 2, 4, 6, 8, 10….) คตินิยมมัลทูเซียนจึงได้บอกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้เสียแล้วก็จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพได้ และว่า อัตราส่วนระหว่างประชากรกับอาหารจะดำรงอยู่ได้ก็โดยเกิดการแทรกซ้อนต่างๆขึ้นมา คือ เกิดสงคราม โรคระบาด โรคภัยไข้เจ็บ ผู้สร้างคตินิยมมัลทูเซียนคือนักเศรษฐศาสตร์อังกฤษชื่อ โทมัส มัลทัส(1776-1834)และทฤษฎีนี้ได้เสื่อมความนิยมลงไปเมื่อตอนที่เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่สามารถทำให้ประเทศต่างๆในยุโรปตะวันตกมีทั้งมาตรฐานการครองชีพที่สูงและมีประชากรเพิ่มขึ้นมามากในขณะเดียวกันนั้นด้วย
ความสำคัญ ในโลกปัจจุบันนี้คตินิยมมัลทูเซียนมักจะเรียกกันว่าคตินิยมมัลทูเซียนใหม่ เพราะได้มีการนำเอาแนวความคิดเดิมมาประยุกต์ใช้กับสภาพแวดล้อมใหม่ การที่มีการนำเอาแนวความคิดนี้กลับมาใช้ใหม่เป็นการส่อแสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับสัมพันธภาพที่เลวร้ายลงเรื่อยๆระหว่างประชากรกับอาหาร ในหมู่ประเทศอุตสาหกรรมนั้นมาตรฐานการครองชีพยังคงสูงอยู่ได้ต่อไป แต่ในหลายประเทศของกลุ่มที่กำลังพัฒนาซึ่งมีประชากรรวมกันเกือบจะเป็นทั้งหมดของประชากรโลกนั้น มาตรฐานการครองชีพได้แต่ทรงตัวอยู่ได้แค่นั้นเอง มีหลายประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทางด้านอาหารแต่ก็ได้กลายเป็นผู้นำเข้าสินค้าอื่นๆในขณะเดียวกัน ผลก็คือเกิดเป็นช่องว่างระหว่างสังคมคนรวยกับสังคมคนจนที่ขยายถ่างกว้างออกไปมากยิ่งขึ้น พวกที่ยึดถือคตินิยมมัลทูเซียนใหม่ได้เตือนไว้ว่า หากประชากรที่เพิ่มขึ้นมามากมายนี้ยังไม่สามารถควบคุมได้ ทรัพยากรธรรมชาติก็จะถูกถลุงจนป่นปี้ไปหมด และผลิตภัณฑ์อาหารก็จะต้องเพิ่มขึ้นอยู่อย่างไม่หยุดไม่หย่อน เมื่อเป็นเช่นนี้อนาคตของมวลมนุษยชาติก็จะไม่แคล้วที่จะถึงความวิบัติดังที่มัลทัสได้ทำนายไว้แล้วนั้น
ทฤษฎีที่มีสมมติฐานว่า ประชากรจะเพิ่มขึ้นในแบบเรขาคณิต( คือ 2, 4, 8, 16, 32….) แต่ปัจจัยการดำรงชีพเพิ่มขึ้นในแบบเลขคณิต (คือ 2, 4, 6, 8, 10….) คตินิยมมัลทูเซียนจึงได้บอกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้เสียแล้วก็จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพได้ และว่า อัตราส่วนระหว่างประชากรกับอาหารจะดำรงอยู่ได้ก็โดยเกิดการแทรกซ้อนต่างๆขึ้นมา คือ เกิดสงคราม โรคระบาด โรคภัยไข้เจ็บ ผู้สร้างคตินิยมมัลทูเซียนคือนักเศรษฐศาสตร์อังกฤษชื่อ โทมัส มัลทัส(1776-1834)และทฤษฎีนี้ได้เสื่อมความนิยมลงไปเมื่อตอนที่เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่สามารถทำให้ประเทศต่างๆในยุโรปตะวันตกมีทั้งมาตรฐานการครองชีพที่สูงและมีประชากรเพิ่มขึ้นมามากในขณะเดียวกันนั้นด้วย
ความสำคัญ ในโลกปัจจุบันนี้คตินิยมมัลทูเซียนมักจะเรียกกันว่าคตินิยมมัลทูเซียนใหม่ เพราะได้มีการนำเอาแนวความคิดเดิมมาประยุกต์ใช้กับสภาพแวดล้อมใหม่ การที่มีการนำเอาแนวความคิดนี้กลับมาใช้ใหม่เป็นการส่อแสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับสัมพันธภาพที่เลวร้ายลงเรื่อยๆระหว่างประชากรกับอาหาร ในหมู่ประเทศอุตสาหกรรมนั้นมาตรฐานการครองชีพยังคงสูงอยู่ได้ต่อไป แต่ในหลายประเทศของกลุ่มที่กำลังพัฒนาซึ่งมีประชากรรวมกันเกือบจะเป็นทั้งหมดของประชากรโลกนั้น มาตรฐานการครองชีพได้แต่ทรงตัวอยู่ได้แค่นั้นเอง มีหลายประเทศที่เป็นผู้ส่งออกทางด้านอาหารแต่ก็ได้กลายเป็นผู้นำเข้าสินค้าอื่นๆในขณะเดียวกัน ผลก็คือเกิดเป็นช่องว่างระหว่างสังคมคนรวยกับสังคมคนจนที่ขยายถ่างกว้างออกไปมากยิ่งขึ้น พวกที่ยึดถือคตินิยมมัลทูเซียนใหม่ได้เตือนไว้ว่า หากประชากรที่เพิ่มขึ้นมามากมายนี้ยังไม่สามารถควบคุมได้ ทรัพยากรธรรมชาติก็จะถูกถลุงจนป่นปี้ไปหมด และผลิตภัณฑ์อาหารก็จะต้องเพิ่มขึ้นอยู่อย่างไม่หยุดไม่หย่อน เมื่อเป็นเช่นนี้อนาคตของมวลมนุษยชาติก็จะไม่แคล้วที่จะถึงความวิบัติดังที่มัลทัสได้ทำนายไว้แล้วนั้น
Migration
การย้ายถิ่น
การอพยพของประชากรจากรัฐหนึ่งหรือจากภูมิภาคหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่งหรือสู่อีกภูมิภาคหนึ่ง และการเข้าเมือง(อิมมิเกรชั่น) เป็นการอพอพจากมุมมองของรัฐฝ่ายผู้รับผู้ย้ายถิ่น ส่วนการอพยพประชากรออกนอกประเทศจะเรียกว่าการย้ายถิ่นออก(อีมีเกรชั่น) การย้ายถิ่นของนุษย์มีมานานพอๆกับประวัติศาสตร์ที่ได้มีการบันทึกไว้เลยทีเดียว แต่กระแสคลื่นการย้ายถิ่นออกนอกประเทศหรืออีมิเกรชั่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น มีจำนวนคนมากกว่า 25 ล้านคน ซึ่งเป็นการย้ายถิ่นออกจากยุโรปในช่วงระหว่างทศวรรษหลังปี 1870 ถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนในทวีปเอเชียในช่วงเดียวกันนี้ก็มีชาวจีนย้ายถิ่นออกจากประเทศจีนปีละระหว่าง 70,000-80,000 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดสงครมกลางเมืองที่ภาคกลางของประเทศจีนนั้น มีตัวเลขของชาวจีนย้ายถิ่นออกจากประเทศจีนมากกว่า 200,000 คน ในปี ค.ศ. 1926 และในปี ค.ศ. 1927 ชาวจีนย้ายถิ่นเหล่านี้เกือบจะทั้งหมดเดินทางเข้าไปยังประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนจีนเหล่านี้เมื่อเข้าไปอยู่ในประเทศต่างๆเหล่านี้แล้วก็มีวัฒนธรรมเป็นของคนจีนเป็นเอกเทศต่างหากจากคนพื้นเมือง จึงเป็นปัญหาในเรื่องบูรณาการของชาติขึ้นมา การย้ายถิ่นของคนที่มีจำนวนมากๆได้ลดลงในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีการย้ายถิ่นออกนอกประเทศเลยในช่วงทศวรรษหลังปี 1930 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การย้ายถิ่นมีอยู่ครั้งเดียวแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ การย้ายถิ่นของชาวยิวจำนวนกว่าหนึ่งล้านคนจากทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไปจากยุโรป แอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลางเพื่อเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในอิสราเอลซึ่งเป็นรัฐที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่(ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง) ศัพท์ว่า การย้ายถิ่น(ไมเกรชั่น)นี้ หมายถึง การอพยพคนจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งโดยความสมัครใจ มิได้หมายถึงคนที่ถูกบังคับให้อพยพหรือย้ายถิ่นโดยข้อบังคับของสนธิสัญญา
ความสำคัญ การย้ายถิ่นนี้ทีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งแก่รัฐที่คนย้ายถิ่นออกไปและรัฐที่เป็นฝ่ายรับผู้ย้ายถิ่นเข้าไปนั้น ในส่วนของประเทศที่มีคนย้ายออกไปนั้น การย้ายถิ่นของพลเมืองของตนออกไปอยู่ที่ประเทศอื่นเป็นการช่วยลดความกดดันทางสังคมอย่างเช่น ความยากจนในหมู่ของชาวไร่ชาวนา เป็นต้น เงินทองที่ผู้ย้ายถิ่นส่งกลับไปที่ประเทศเมืองแม่จะช่วยเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นให้ดีขึ้นมาได้ การออกไปจากประเทศของคนที่กระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลและของคนกลุ่มน้อยต่างๆ จะช่วยให้การเมืองภายในประเทศมีเสถียรภาพ ส่วนข้อเสียของการย้ายถิ่นของคนออกนอกประเทศไปนั้นมีดังนี้ คือ ทำให้สูญเสียแรงงานมีฝีมือและคนหนุ่มสาวในวัยฉกรรจ์ไปกับหมู่ผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศนั้น เป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจเมื่อคนที่ได้รับการฝึกอบรมไว้อย่างดีแล้วย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ประเทศอื่น และเป็นการสูญเสียกำลังพลที่จะถูกเกณฑ์เข้ามาเป็นทหารประจำการอยู่ในกองทัพ ในส่วนของประเทศที่รับผู้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่นั้น การรับผู้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่มีส่วนดี คือ จะช่วยให้ได้แรงงานมีฝีมือและทำให้มีกำลังคนในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งก็จะสามารถส่งคนผู้ย้ายถิ่นเข้ามานี้ไปอยู่ในดินแดนที่ยังรกร้างว่างเปล่าอยู่นั้นได้ และการมีคนเพิ่มขึ้นมานี้ก็จะทำให้สามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย ส่วนในข้อเสียนั้นก็คือว่า ผู้ย้ายถิ่นจะเป็นตัวก่อปัญหาในเรื่องการผสมกลมกลืนของคนภายในประเทศ เมื่อมีผู้ย้ายถิ่นอพยพเข้าไปอยู่ก็จะไปแย่งงานในตลาดแรงงานของประเทศผู้รับนั้น และก็มีอยู่บ่อยๆที่เรื่องการย้ายถิ่นนี้เป็นตัวการสร้างปัญหาความร้าวฉานในความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่มีคนย้ายออกมากับประเทศที่เป็นฝ่ายผู้รับ ด้วยเหตุที่นโยบายการรับคนย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ในประเทศโดยไม่จำกัดจำนวนได้เลิกปฏิบัติแล้วตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา ดังนั้นการย้ายถิ่นของคนจึงมิใช่วิธีการแก้ปัญหาคนล้นประเทศให้แก่บางประเทศได้อีกต่อไป จากการคำนวณโดยใช้ฐานของความหนาแน่นของประชากรในเชิงเปรียบเทียบทำให้ทราบได้ว่า มีหลายประเทศเป็นต้นว่า ออสเตรเลีย แคนาดา บราซิล สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา ยังมีพื้นที่ว่างพอที่จะรองรับคนย้ายถิ่นฐานได้อีกจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในเรื่องของพื้นที่รองรับจึงไม่เป็นปัญหา แต่การย้ายถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในประเทศใหมนั้นมีปัญหาอยู่ที่เรื่องคติถือชาติพันธุ์(คือเห็นว่าพวกเราดีกว่าพวกเขา) ปัญหาเรื่องชาตินิยม ปัญหาความกลัวว่าจะเกิดการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการแย่งอาชีพกัน รวมทั้งปัญหาเลือกปฏิบัติทางด้านจิตวิทยาและด้านสังคม ก็จึงทำให้นโยบายการอพยพคนเข้าประเทศจำต้องมีการเลือกเฟ้นกันมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ดีการย้ายถิ่นนี้ก็ได้ถูกเสนอให้นำไปใช้ควบคู่ไปกับการคุมกำเนิดและการเพิ่มผลผลิตทางอาหารและทรัพยากรอื่นๆ โดยให้ถือว่าเป็นวิธีการที่มีศักยภาพที่จะไปช่วยลดความกดดันอันมีผลสืบเนื่องมาจากประชากรล้นประเทศได้ทางหนึ่ง
การอพยพของประชากรจากรัฐหนึ่งหรือจากภูมิภาคหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่งหรือสู่อีกภูมิภาคหนึ่ง และการเข้าเมือง(อิมมิเกรชั่น) เป็นการอพอพจากมุมมองของรัฐฝ่ายผู้รับผู้ย้ายถิ่น ส่วนการอพยพประชากรออกนอกประเทศจะเรียกว่าการย้ายถิ่นออก(อีมีเกรชั่น) การย้ายถิ่นของนุษย์มีมานานพอๆกับประวัติศาสตร์ที่ได้มีการบันทึกไว้เลยทีเดียว แต่กระแสคลื่นการย้ายถิ่นออกนอกประเทศหรืออีมิเกรชั่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น มีจำนวนคนมากกว่า 25 ล้านคน ซึ่งเป็นการย้ายถิ่นออกจากยุโรปในช่วงระหว่างทศวรรษหลังปี 1870 ถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนในทวีปเอเชียในช่วงเดียวกันนี้ก็มีชาวจีนย้ายถิ่นออกจากประเทศจีนปีละระหว่าง 70,000-80,000 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดสงครมกลางเมืองที่ภาคกลางของประเทศจีนนั้น มีตัวเลขของชาวจีนย้ายถิ่นออกจากประเทศจีนมากกว่า 200,000 คน ในปี ค.ศ. 1926 และในปี ค.ศ. 1927 ชาวจีนย้ายถิ่นเหล่านี้เกือบจะทั้งหมดเดินทางเข้าไปยังประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนจีนเหล่านี้เมื่อเข้าไปอยู่ในประเทศต่างๆเหล่านี้แล้วก็มีวัฒนธรรมเป็นของคนจีนเป็นเอกเทศต่างหากจากคนพื้นเมือง จึงเป็นปัญหาในเรื่องบูรณาการของชาติขึ้นมา การย้ายถิ่นของคนที่มีจำนวนมากๆได้ลดลงในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีการย้ายถิ่นออกนอกประเทศเลยในช่วงทศวรรษหลังปี 1930 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การย้ายถิ่นมีอยู่ครั้งเดียวแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ การย้ายถิ่นของชาวยิวจำนวนกว่าหนึ่งล้านคนจากทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไปจากยุโรป แอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลางเพื่อเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในอิสราเอลซึ่งเป็นรัฐที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่(ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง) ศัพท์ว่า การย้ายถิ่น(ไมเกรชั่น)นี้ หมายถึง การอพยพคนจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งโดยความสมัครใจ มิได้หมายถึงคนที่ถูกบังคับให้อพยพหรือย้ายถิ่นโดยข้อบังคับของสนธิสัญญา
ความสำคัญ การย้ายถิ่นนี้ทีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งแก่รัฐที่คนย้ายถิ่นออกไปและรัฐที่เป็นฝ่ายรับผู้ย้ายถิ่นเข้าไปนั้น ในส่วนของประเทศที่มีคนย้ายออกไปนั้น การย้ายถิ่นของพลเมืองของตนออกไปอยู่ที่ประเทศอื่นเป็นการช่วยลดความกดดันทางสังคมอย่างเช่น ความยากจนในหมู่ของชาวไร่ชาวนา เป็นต้น เงินทองที่ผู้ย้ายถิ่นส่งกลับไปที่ประเทศเมืองแม่จะช่วยเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นให้ดีขึ้นมาได้ การออกไปจากประเทศของคนที่กระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลและของคนกลุ่มน้อยต่างๆ จะช่วยให้การเมืองภายในประเทศมีเสถียรภาพ ส่วนข้อเสียของการย้ายถิ่นของคนออกนอกประเทศไปนั้นมีดังนี้ คือ ทำให้สูญเสียแรงงานมีฝีมือและคนหนุ่มสาวในวัยฉกรรจ์ไปกับหมู่ผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศนั้น เป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจเมื่อคนที่ได้รับการฝึกอบรมไว้อย่างดีแล้วย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ประเทศอื่น และเป็นการสูญเสียกำลังพลที่จะถูกเกณฑ์เข้ามาเป็นทหารประจำการอยู่ในกองทัพ ในส่วนของประเทศที่รับผู้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่นั้น การรับผู้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่มีส่วนดี คือ จะช่วยให้ได้แรงงานมีฝีมือและทำให้มีกำลังคนในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งก็จะสามารถส่งคนผู้ย้ายถิ่นเข้ามานี้ไปอยู่ในดินแดนที่ยังรกร้างว่างเปล่าอยู่นั้นได้ และการมีคนเพิ่มขึ้นมานี้ก็จะทำให้สามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย ส่วนในข้อเสียนั้นก็คือว่า ผู้ย้ายถิ่นจะเป็นตัวก่อปัญหาในเรื่องการผสมกลมกลืนของคนภายในประเทศ เมื่อมีผู้ย้ายถิ่นอพยพเข้าไปอยู่ก็จะไปแย่งงานในตลาดแรงงานของประเทศผู้รับนั้น และก็มีอยู่บ่อยๆที่เรื่องการย้ายถิ่นนี้เป็นตัวการสร้างปัญหาความร้าวฉานในความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่มีคนย้ายออกมากับประเทศที่เป็นฝ่ายผู้รับ ด้วยเหตุที่นโยบายการรับคนย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ในประเทศโดยไม่จำกัดจำนวนได้เลิกปฏิบัติแล้วตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา ดังนั้นการย้ายถิ่นของคนจึงมิใช่วิธีการแก้ปัญหาคนล้นประเทศให้แก่บางประเทศได้อีกต่อไป จากการคำนวณโดยใช้ฐานของความหนาแน่นของประชากรในเชิงเปรียบเทียบทำให้ทราบได้ว่า มีหลายประเทศเป็นต้นว่า ออสเตรเลีย แคนาดา บราซิล สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา ยังมีพื้นที่ว่างพอที่จะรองรับคนย้ายถิ่นฐานได้อีกจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในเรื่องของพื้นที่รองรับจึงไม่เป็นปัญหา แต่การย้ายถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในประเทศใหมนั้นมีปัญหาอยู่ที่เรื่องคติถือชาติพันธุ์(คือเห็นว่าพวกเราดีกว่าพวกเขา) ปัญหาเรื่องชาตินิยม ปัญหาความกลัวว่าจะเกิดการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการแย่งอาชีพกัน รวมทั้งปัญหาเลือกปฏิบัติทางด้านจิตวิทยาและด้านสังคม ก็จึงทำให้นโยบายการอพยพคนเข้าประเทศจำต้องมีการเลือกเฟ้นกันมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ดีการย้ายถิ่นนี้ก็ได้ถูกเสนอให้นำไปใช้ควบคู่ไปกับการคุมกำเนิดและการเพิ่มผลผลิตทางอาหารและทรัพยากรอื่นๆ โดยให้ถือว่าเป็นวิธีการที่มีศักยภาพที่จะไปช่วยลดความกดดันอันมีผลสืบเนื่องมาจากประชากรล้นประเทศได้ทางหนึ่ง
Oder – Neisse Line
เส้นออเดอร์-นีสเซ
เส้นพรมแดนโดยพฤตินัยที่ได้ตกลงกันระหว่างเยอรมนีตะวันออกกับโปแลนด์เมื่อตอนยุติสงครามโลกครั้งที่สอง เส้นออร์เดอร์นีสเซตั้งตามชื่อของแม่น้ำสองสายคือแม่น้ำออเดอร์และแม่น้ำนีสเซที่ใช้เป็นเส้นปันเขตแดนของสองประเทศดังกล่าวจากทะเลบอลติกตอนใต้เรื่อยขึ้นไปจนจรดพรมแดนของเชโกสโลวะเกีย พวกผู้แทนของมหาอำนาจฝ่ายพันธมิตรได้ประชุมกันที่เมืองปอตสดัมเมื่อปี ค.ศ. 1945 เพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆรวมถึงเรื่องการดำเนินการกับเยอรมนีเป็นการชั่วคราว และแนวปฏิบัติในการร่างสนธิสัญญาสันติภาพครั้งสุดท้าย ซึ่งพวกผู้แทนฝ่ายพันธมิตรได้ตกลงกันว่า ปรัสเซียตะวันออกทางด้านเหนือๆจะถูกผนวก”ในหลักการ” โดยสหภาพโซเวียต และว่า เมื่อได้ตกลงกันในเรื่องพรมแดนครั้งสุดท้ายแล้ว ก็จะให้ปรัสเซียตะวันออกทางตอนใต้ๆและดินแดนเยอรมีที่อยู่ทางด้านตะวันออกของเส้นเขตแดนแม่น้ำ”อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐโปแลนด์” นอกจากนั้นแล้วฝ่ายพันธมิตรก็ยังได้ตกลงกันด้วยว่า จะใช้”หลักความเป็นระเบียบเรียบร้อยและหลักมนุษยธรรม”ที่จะโยกย้ายคนสัญชาติเยอรมันออกไปจากโปแลนด์ เชโกสโลวะเกีย และฮังการี เส้นพรมแดนออเดอร์-นีสเซนี้ได้รับการรับรองจากทั้งสองฝ่ายเป็นครั้งแรกในข้อตกลงกรุงเฮลซิงกิเมื่อปี ค.ศ. 1975 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กลุ่มประเทศตะวันออกและกลุ่มประเทศตะวันตกยอมรับสถานภาพเดิมในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ความสำคัญ สงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปี ค.ศ. 1945 แต่ว่าเส้นพรมแดนออเดอร์-นีสเซนี้ยังคงเป็นประเด็นในความสัมพันธ์ระหว่างตะวันออกกับตะวันตกโดยทั่วไปและในความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีกับโปแลนด์โดยเฉพาะ สงครามเย็นที่เกิดขึ้นมาได้ส่งผลให้แบ่งแยกเยอรมนีโดยพฤตินัยออกเป็น 2 ส่วน คือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน(เยอรมนีตะวันตก) กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน(เยอรมนีตะวันออก) แต่ด้วยเหตุที่มิได้มีการเจรจากันในเรื่องสนธิสัญญาสันติภาพครั้งสุดท้าย ดินแดนเยอรมันที่อยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำออเดอร์และนีสเซ จึงได้ถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียตและโปแลนด์ และในขณะเดียวกันคนเยอรมันราวสิบล้านคนก็ได้ถูกบังคับให้อพยพเข้าไปอยู่ในเยอรมนีตะวันออก แต่ในท้ายที่สุดแล้วคนเหล่านี้เกือบจะทั้งหมดได้หลบหนีเข้าไปอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน(เยอรมนีตะวันตก) ถึงแม้ว่าข้อตกลงกรุงเฮลซิงกิจะมิได้มีผลบังคับเหมือนกฎหมายระหว่างประเทศเพราะเป็นแต่เพียงข้อตกลงทางการทูตมิได้เป็นสนธิสัญญา กระนั้นก็ดีข้อตกลงกรุงเฮลซิงกินี้ก็ส่อแสดงว่า การรณรงค์ที่กระทำกันมายาวนานของเยอรมนีตะวันตกเพื่อให้มีการรวมเยอรมนีทั้งสองฟากเข้าด้วยกันอาจจะยุติลงก็ได้ การรับรองเยอรมนีตะวันออกในทางการทูตโดยทุกประเทศของกลุ่มตะวันตกรวมทั้งสหรัฐอเมริกา และการยอมรับให้เยอรมนีตะวันออกเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ทำให้เส้นพรมแดนออเดอร์-นีสเซนี้เป็นเส้นพรมแดนหลักอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จวบจนกระทั่งเยอรมนีทั้งสองฟากได้รวมประเทศสำเร็จในช่วงทศวรรษปี 1990
เส้นพรมแดนโดยพฤตินัยที่ได้ตกลงกันระหว่างเยอรมนีตะวันออกกับโปแลนด์เมื่อตอนยุติสงครามโลกครั้งที่สอง เส้นออร์เดอร์นีสเซตั้งตามชื่อของแม่น้ำสองสายคือแม่น้ำออเดอร์และแม่น้ำนีสเซที่ใช้เป็นเส้นปันเขตแดนของสองประเทศดังกล่าวจากทะเลบอลติกตอนใต้เรื่อยขึ้นไปจนจรดพรมแดนของเชโกสโลวะเกีย พวกผู้แทนของมหาอำนาจฝ่ายพันธมิตรได้ประชุมกันที่เมืองปอตสดัมเมื่อปี ค.ศ. 1945 เพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆรวมถึงเรื่องการดำเนินการกับเยอรมนีเป็นการชั่วคราว และแนวปฏิบัติในการร่างสนธิสัญญาสันติภาพครั้งสุดท้าย ซึ่งพวกผู้แทนฝ่ายพันธมิตรได้ตกลงกันว่า ปรัสเซียตะวันออกทางด้านเหนือๆจะถูกผนวก”ในหลักการ” โดยสหภาพโซเวียต และว่า เมื่อได้ตกลงกันในเรื่องพรมแดนครั้งสุดท้ายแล้ว ก็จะให้ปรัสเซียตะวันออกทางตอนใต้ๆและดินแดนเยอรมีที่อยู่ทางด้านตะวันออกของเส้นเขตแดนแม่น้ำ”อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐโปแลนด์” นอกจากนั้นแล้วฝ่ายพันธมิตรก็ยังได้ตกลงกันด้วยว่า จะใช้”หลักความเป็นระเบียบเรียบร้อยและหลักมนุษยธรรม”ที่จะโยกย้ายคนสัญชาติเยอรมันออกไปจากโปแลนด์ เชโกสโลวะเกีย และฮังการี เส้นพรมแดนออเดอร์-นีสเซนี้ได้รับการรับรองจากทั้งสองฝ่ายเป็นครั้งแรกในข้อตกลงกรุงเฮลซิงกิเมื่อปี ค.ศ. 1975 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กลุ่มประเทศตะวันออกและกลุ่มประเทศตะวันตกยอมรับสถานภาพเดิมในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ความสำคัญ สงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปี ค.ศ. 1945 แต่ว่าเส้นพรมแดนออเดอร์-นีสเซนี้ยังคงเป็นประเด็นในความสัมพันธ์ระหว่างตะวันออกกับตะวันตกโดยทั่วไปและในความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีกับโปแลนด์โดยเฉพาะ สงครามเย็นที่เกิดขึ้นมาได้ส่งผลให้แบ่งแยกเยอรมนีโดยพฤตินัยออกเป็น 2 ส่วน คือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน(เยอรมนีตะวันตก) กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน(เยอรมนีตะวันออก) แต่ด้วยเหตุที่มิได้มีการเจรจากันในเรื่องสนธิสัญญาสันติภาพครั้งสุดท้าย ดินแดนเยอรมันที่อยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำออเดอร์และนีสเซ จึงได้ถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียตและโปแลนด์ และในขณะเดียวกันคนเยอรมันราวสิบล้านคนก็ได้ถูกบังคับให้อพยพเข้าไปอยู่ในเยอรมนีตะวันออก แต่ในท้ายที่สุดแล้วคนเหล่านี้เกือบจะทั้งหมดได้หลบหนีเข้าไปอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน(เยอรมนีตะวันตก) ถึงแม้ว่าข้อตกลงกรุงเฮลซิงกิจะมิได้มีผลบังคับเหมือนกฎหมายระหว่างประเทศเพราะเป็นแต่เพียงข้อตกลงทางการทูตมิได้เป็นสนธิสัญญา กระนั้นก็ดีข้อตกลงกรุงเฮลซิงกินี้ก็ส่อแสดงว่า การรณรงค์ที่กระทำกันมายาวนานของเยอรมนีตะวันตกเพื่อให้มีการรวมเยอรมนีทั้งสองฟากเข้าด้วยกันอาจจะยุติลงก็ได้ การรับรองเยอรมนีตะวันออกในทางการทูตโดยทุกประเทศของกลุ่มตะวันตกรวมทั้งสหรัฐอเมริกา และการยอมรับให้เยอรมนีตะวันออกเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ทำให้เส้นพรมแดนออเดอร์-นีสเซนี้เป็นเส้นพรมแดนหลักอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จวบจนกระทั่งเยอรมนีทั้งสองฟากได้รวมประเทศสำเร็จในช่วงทศวรรษปี 1990
Overseas Chinese
ชาวจีนโพ้นทะเล
คนที่มีบรรพบุรุษและวัฒนธรรมจีนแต่ไปอยู่นอกพรมแดนของผืนแผ่นดินใหญ่จีนและเกาะฟอร์โมซา(ไต้หวัน) ชาวจีนโพ้นทะเลหลายล้านคนที่อยู่ในประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวการก่อให้เกิดปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ปัญหาความผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม
ความสำคัญ ชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้มีความแตกต่างจากชนกลุ่มน้อยอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในแง่ของจำนวนคน ในแง่ของแนวโน้มที่เป็นพวกชอบตั้งชุมชนแยกตัวไม่ยอมสุงสิงกับคนพื้นเมือง ในแง่ที่มีความขยันขันแข็งในการทำมาหากินจนสามารถควบคุมเศรษฐกิจในประเทศที่ตนไปพำนักอาศัยอยู่นั้นได้ และในแง่ที่เป็นพวกมีความผูกพันทางวัฒนธรรมและการเมืองกับกรุงปักกิ่ง(ผืนแผ่นดินใหญ่จีน) และกับกรุงไทเป(จีนไต้หวัน) จากคุณสมบัติต่างๆดังกล่าวมานี้ก็จึงมักทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลแปลกแยกไปจากคนท้องถิ่น เป็นตัวการคุกคามเสถียรภาพทางการเมือง และเป็นตัวการขัดขวางกระบวนการสร้างชาติ ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติต่างๆอาศัยอยู่ แต่ในกรณีของชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติจีนจะเป็นตัวการสร้างปัญหามากเป็นพิเศษในเวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย พม่า และมาเลเซีย เพราะชาวจีนเหล่านี้ต่างปฏิเสธที่จะผสมกลมกลืนเข้ากับคนพื้นเมือง และชาวจีนเหล่านี้ก็ยังมีพลังทางเศรษฐกิจสามารถทำตัวเองให้มีศักยภาพเป็นพลังทางการเมืองได้ด้วย
คนที่มีบรรพบุรุษและวัฒนธรรมจีนแต่ไปอยู่นอกพรมแดนของผืนแผ่นดินใหญ่จีนและเกาะฟอร์โมซา(ไต้หวัน) ชาวจีนโพ้นทะเลหลายล้านคนที่อยู่ในประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวการก่อให้เกิดปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ปัญหาความผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม
ความสำคัญ ชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้มีความแตกต่างจากชนกลุ่มน้อยอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในแง่ของจำนวนคน ในแง่ของแนวโน้มที่เป็นพวกชอบตั้งชุมชนแยกตัวไม่ยอมสุงสิงกับคนพื้นเมือง ในแง่ที่มีความขยันขันแข็งในการทำมาหากินจนสามารถควบคุมเศรษฐกิจในประเทศที่ตนไปพำนักอาศัยอยู่นั้นได้ และในแง่ที่เป็นพวกมีความผูกพันทางวัฒนธรรมและการเมืองกับกรุงปักกิ่ง(ผืนแผ่นดินใหญ่จีน) และกับกรุงไทเป(จีนไต้หวัน) จากคุณสมบัติต่างๆดังกล่าวมานี้ก็จึงมักทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลแปลกแยกไปจากคนท้องถิ่น เป็นตัวการคุกคามเสถียรภาพทางการเมือง และเป็นตัวการขัดขวางกระบวนการสร้างชาติ ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติต่างๆอาศัยอยู่ แต่ในกรณีของชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติจีนจะเป็นตัวการสร้างปัญหามากเป็นพิเศษในเวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย พม่า และมาเลเซีย เพราะชาวจีนเหล่านี้ต่างปฏิเสธที่จะผสมกลมกลืนเข้ากับคนพื้นเมือง และชาวจีนเหล่านี้ก็ยังมีพลังทางเศรษฐกิจสามารถทำตัวเองให้มีศักยภาพเป็นพลังทางการเมืองได้ด้วย
Population Control
การควบคุมประชากร
การปรับแต่งขนาดของประชากร อันมีผลมาจากนโยบายของชาติและจากการใช้วิธีคุมกำเนิดในระดับบุคคล ในทางประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เราเห็นว่า รัฐบาลต่างๆได้ดำเนินความพยายามในการใช้มาตรการต่างๆเพื่อให้เกิดผลกับปริมาณและคุณภาพของประชากรโดยใช้เทคนิคต่างๆ เป็นต้นว่า (1) การส่งเสริมหรือไม่สงเสริมการเข้าเมืองและการย้ายถิ่นออกไป (2) การส่งเสริมและไม่ส่งเสริมให้มีครอบครัวใหญ่ๆ และ(3) การดำเนินนโยบายกำจัดมวลมนุษย์ ตัวอย่างเช่น กรณีของเยอรมนีในยุคนาซีเรืองอำนาจ เมื่อได้มีการปรับปรุงวิธีคุมกำเนิดต่างๆและนำมาใช้ในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมตะวันตกแล้วนั้น ผู้คนก็จะสามารถเลือกได้ว่าอยากทำให้ครอบครัวมีขนาดใหญ่หรือมีขนาดเล็กได้ เมื่อปี ค.ศ. 1987 ประชากรโลกมีมากกว่าห้าพันล้านคน อัตราการเกิดของคนทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 27 คนต่อหนึ่งพันคนเมื่อปี ค.ศ. 1986 มาเป็น 28 คนต่อหนึ่งพันคนในปี ค.ศ. 1987 เหตุผลสำคัญที่ประชากรโลกเพิ่มมากเช่นนี้ก็เพราะการเจริญเติบโตของประชากรในจีนที่พุ่งขึ้นมาจาก 18 คนต่อหนึ่งพันคนเมื่อปี ค.ศ. 1986 มาเป็น 21 คนต่อหนึ่งพันคนในปี ค.ศ. 1987 ทั้งนี้เพราะผลของการลดความเคร่งครัดในมาตรการคุมกำเนิดของทางการจีนนั่นเอง
ความสำคัญ ปัญหาการควบคุมประชากรนี้มีปรากฏอย่างเด่นชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา และในสังคมหัวเลี้ยวหัวต่อของกลุ่มประเทศโลกที่สาม ในขั้นตอนที่ 2 ของวงจรทางประชากรศาสตร์ กล่าวคือ ในขั้นตอนนี้สังคมจะพยายามเปลี่ยนแปลงการปรับทิศทางสังคมในแบบก่อนการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมไปสู่สังคมในแบบพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม แต่ในขณะเดียวกันนั้นสังคมก็จะพบกับปัญหาประชากรล้นประเทศเข้าไปอีกด้วย ลักษณะต่างๆที่สัมพันธ์กับขนาดและสภาวะของประชาการมีดังนี้ คือ (1) อัตราการตายลดลงมามากกว่าอัตราการเกิด (2 ) คนที่อยู่ในเยาว์วัยมีจำนวนมาก และ (3) คนในวัยทำงานที่จะทำงานเพื่อปรับปรุงสภาวะทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วนั้นกลับมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั้งหมด รัฐบาลในประเทศต่างๆเหล่านี้ต่างก็ถูกบีบคั้น คือ ทางหนึ่งก็ต้องการจะรักษาค่านิยมแบบเก่าเอาไว้ แต่อีกทางหนึ่งก็ต้องการจะสนับสนุนค่านิยมแบบใหม่ และในขณะเดียวกันนั้นคนก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการพัฒนาเศรษฐกิจเกี่ยวกับการนี้เพิ่มตามมา ที่เกิดปัญหาคนล้นประเทศขึ้นมานี้ก็เนื่องมาจากท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการคุมกำเนิดของหลายศาสนาทั่วโลก ทำให้นโยบายและโครงการที่ดำเนินการเพื่อจะลดอัตราการเกิดไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ดีได้มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้โดยวิธีการต่อไปนี้ คือ (1) ขจัดการไม่รู้หนังสือของประชาชนให้หมดไปเพื่อให้สามารถสื่อสารค่านิยมแบบใหม่ในหมู่ประชาชนได้สำเร็จ (2) ทำการปรับปรุงสุขอนามัยในหมู่ประชาชนเพื่อว่าจะได้ไม่ต้องมีครอบครัวใหญ่มีลูกหลานมากๆเป็นการเผื่อไว้สำหรับเด็กส่วนหนึ่งที่อาจจะเสียชีวิตก่อนจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (3) มีการเน้นย้ำให้เห็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะพึงได้จากการมีครอบครัวเล็กๆ และ (4) มีการจัดหาข้อมูลและทรัพยากรต่างๆให้แก่ประชาชนเป็นการสนับสนุนการคุมกำเนิดให้แพร่หลายในหมู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น รัฐบาลของประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีความสนใจในการพัฒนาโครงการคุมกำเนิดต่างๆจะได้รับความช่วยเหลือทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนของประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนั้นแล้ววิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็ยังคงดำเนินการให้ความสะดวกในเรื่องการคุมกำเนิดนี้ต่อไป โดยได้มีการพัฒนาวิธีการที่ง่ายและมีประสิทธิผลในการคุมกำเนิดมากยิ่งขึ้น เป็นต้นว่า การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในหญิง และการผูกท่อเชื้ออสุจิในชาย(ไอยูดี) เป็นต้น อย่างไรก็ดีปัญหานี้ก็จะยังคงเป็นเรื่องของการแสวงหาทางเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทางเลือกหนึ่ง คือ ปล่อยให้ประชากรขยายตัวมากๆในขณะที่ทรัพยากรของโลกอยู่ในสภาวะขาดแคลน ซึ่งเป็นทางวิบัติ กับอีกทางเลือกหนึ่ง คือ พยายามเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารในอัตราที่พอเพียงและในขณะเดียวกันนั้นก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเก่าๆ เป็นต้นว่า ค่านิยมที่ว่าการมีครอบครัวใหญ่ๆเป็นสิ่งที่ดีนั้นตามไปด้วย
การปรับแต่งขนาดของประชากร อันมีผลมาจากนโยบายของชาติและจากการใช้วิธีคุมกำเนิดในระดับบุคคล ในทางประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เราเห็นว่า รัฐบาลต่างๆได้ดำเนินความพยายามในการใช้มาตรการต่างๆเพื่อให้เกิดผลกับปริมาณและคุณภาพของประชากรโดยใช้เทคนิคต่างๆ เป็นต้นว่า (1) การส่งเสริมหรือไม่สงเสริมการเข้าเมืองและการย้ายถิ่นออกไป (2) การส่งเสริมและไม่ส่งเสริมให้มีครอบครัวใหญ่ๆ และ(3) การดำเนินนโยบายกำจัดมวลมนุษย์ ตัวอย่างเช่น กรณีของเยอรมนีในยุคนาซีเรืองอำนาจ เมื่อได้มีการปรับปรุงวิธีคุมกำเนิดต่างๆและนำมาใช้ในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมตะวันตกแล้วนั้น ผู้คนก็จะสามารถเลือกได้ว่าอยากทำให้ครอบครัวมีขนาดใหญ่หรือมีขนาดเล็กได้ เมื่อปี ค.ศ. 1987 ประชากรโลกมีมากกว่าห้าพันล้านคน อัตราการเกิดของคนทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 27 คนต่อหนึ่งพันคนเมื่อปี ค.ศ. 1986 มาเป็น 28 คนต่อหนึ่งพันคนในปี ค.ศ. 1987 เหตุผลสำคัญที่ประชากรโลกเพิ่มมากเช่นนี้ก็เพราะการเจริญเติบโตของประชากรในจีนที่พุ่งขึ้นมาจาก 18 คนต่อหนึ่งพันคนเมื่อปี ค.ศ. 1986 มาเป็น 21 คนต่อหนึ่งพันคนในปี ค.ศ. 1987 ทั้งนี้เพราะผลของการลดความเคร่งครัดในมาตรการคุมกำเนิดของทางการจีนนั่นเอง
ความสำคัญ ปัญหาการควบคุมประชากรนี้มีปรากฏอย่างเด่นชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา และในสังคมหัวเลี้ยวหัวต่อของกลุ่มประเทศโลกที่สาม ในขั้นตอนที่ 2 ของวงจรทางประชากรศาสตร์ กล่าวคือ ในขั้นตอนนี้สังคมจะพยายามเปลี่ยนแปลงการปรับทิศทางสังคมในแบบก่อนการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมไปสู่สังคมในแบบพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม แต่ในขณะเดียวกันนั้นสังคมก็จะพบกับปัญหาประชากรล้นประเทศเข้าไปอีกด้วย ลักษณะต่างๆที่สัมพันธ์กับขนาดและสภาวะของประชาการมีดังนี้ คือ (1) อัตราการตายลดลงมามากกว่าอัตราการเกิด (2 ) คนที่อยู่ในเยาว์วัยมีจำนวนมาก และ (3) คนในวัยทำงานที่จะทำงานเพื่อปรับปรุงสภาวะทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วนั้นกลับมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั้งหมด รัฐบาลในประเทศต่างๆเหล่านี้ต่างก็ถูกบีบคั้น คือ ทางหนึ่งก็ต้องการจะรักษาค่านิยมแบบเก่าเอาไว้ แต่อีกทางหนึ่งก็ต้องการจะสนับสนุนค่านิยมแบบใหม่ และในขณะเดียวกันนั้นคนก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการพัฒนาเศรษฐกิจเกี่ยวกับการนี้เพิ่มตามมา ที่เกิดปัญหาคนล้นประเทศขึ้นมานี้ก็เนื่องมาจากท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการคุมกำเนิดของหลายศาสนาทั่วโลก ทำให้นโยบายและโครงการที่ดำเนินการเพื่อจะลดอัตราการเกิดไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ดีได้มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้โดยวิธีการต่อไปนี้ คือ (1) ขจัดการไม่รู้หนังสือของประชาชนให้หมดไปเพื่อให้สามารถสื่อสารค่านิยมแบบใหม่ในหมู่ประชาชนได้สำเร็จ (2) ทำการปรับปรุงสุขอนามัยในหมู่ประชาชนเพื่อว่าจะได้ไม่ต้องมีครอบครัวใหญ่มีลูกหลานมากๆเป็นการเผื่อไว้สำหรับเด็กส่วนหนึ่งที่อาจจะเสียชีวิตก่อนจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (3) มีการเน้นย้ำให้เห็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะพึงได้จากการมีครอบครัวเล็กๆ และ (4) มีการจัดหาข้อมูลและทรัพยากรต่างๆให้แก่ประชาชนเป็นการสนับสนุนการคุมกำเนิดให้แพร่หลายในหมู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น รัฐบาลของประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีความสนใจในการพัฒนาโครงการคุมกำเนิดต่างๆจะได้รับความช่วยเหลือทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนของประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนั้นแล้ววิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็ยังคงดำเนินการให้ความสะดวกในเรื่องการคุมกำเนิดนี้ต่อไป โดยได้มีการพัฒนาวิธีการที่ง่ายและมีประสิทธิผลในการคุมกำเนิดมากยิ่งขึ้น เป็นต้นว่า การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในหญิง และการผูกท่อเชื้ออสุจิในชาย(ไอยูดี) เป็นต้น อย่างไรก็ดีปัญหานี้ก็จะยังคงเป็นเรื่องของการแสวงหาทางเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทางเลือกหนึ่ง คือ ปล่อยให้ประชากรขยายตัวมากๆในขณะที่ทรัพยากรของโลกอยู่ในสภาวะขาดแคลน ซึ่งเป็นทางวิบัติ กับอีกทางเลือกหนึ่ง คือ พยายามเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารในอัตราที่พอเพียงและในขณะเดียวกันนั้นก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเก่าๆ เป็นต้นว่า ค่านิยมที่ว่าการมีครอบครัวใหญ่ๆเป็นสิ่งที่ดีนั้นตามไปด้วย
Third World : Urban Crisis
โลกที่ 3 : วิกฤติการณ์ของเมือง
การอพยพของประชากรนับเป็นร้อยๆล้านคนในแถบละตินอเมริกา แถบเอเชีย และแถบแอฟริกา จากถิ่นที่อยู่เดิมของตนในชนบทเข้าไปอยู่ในเมืองใหญ่ๆและในสภาพแวดล้อมแบบเมือง วิกฤติการณ์ของเมืองในโลกที่ 3 นี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นผลผลิตของการเติบโตของประชากรจนเกิดล้นประเทศขึ้นมา และเกิดจากความไม่สามารถของคนจำนวนมากๆที่จะเลี้ยงชีพอยู่ในพื้นที่ชนบทได้ หรือหากพวกเขาจะอยู่ในชนบทต่อไปก็จะต้องทนอยู่กับมาตรฐานการครองชีพที่ต่ำๆ และคนพวกนี้ก็มีความใฝ่ฝันอยากจะเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นก็จึงได้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้าไปยังพื้นที่ในเมืองเพื่อหางานทำ ถึงแม้ว่าศูนย์กลางของเมืองต่างๆจะไม่อยู่ในฐานะที่จะรองรับคนที่หลั่งไหลเข้ามามากมายอย่างนี้ได้แต่ก็ไม่สามารถจะหยุดยั้งพวกที่อพยพเข้าไปนี้ได้ การเติบโตของประชากรของประเทศกลุ่มโลกที่ 3 ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนี้ ก่อให้เกิดปัญหาหนักหน่วงรุนแรงให้แก่ฝ่ายปกครองของเมืองนั้นๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มิใช่ว่าจะมีแต่เฉพาะในเรื่องของอาชีพเท่านั้นแต่ก็ยังมีเรื่องอื่นๆด้วย เป็นต้นว่า การทิ้งขยะ การขนส่ง การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การสุขอนามัย และการให้บริการปัจจัยพื้นฐานต่างๆให้แก่คนหลายล้านคน กล่าวคือ น้ำประปา อาหาร เป็นต้น
ความสำคัญ การอพยพของคนจากชนบทเข้าไปสู่เมืองต่างๆ ที่ค่อยเป็นค่อยไปแต่มีความต่อเนื่องโดยใช้เวลาหลายศวรรษได้กลายเป็นปัญหาหนักอกสำหรับประเทศในโลกที่ 3 บางประเทศ เมื่อปี ค.ศ. 1987 เมืองต่างๆทั่วโลกที่มีประชากรมากกว่า 5 ล้านคนมีจำนวน 29 เมือง แต่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประชากรศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่า เมื่อถึงปี ค.ศ. 2000 เมืองที่มีประชากรมากกว่า 5 ล้านคนจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 59 เมือง จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในศูนย์กลางของเมืองต่างๆจะเพิ่มขึ้นมาในช่วงเดียวกันนี้ถึง 77 เปอร์เซ็นต์ กล่าวคือ จากจำนวน 1.8 พันล้านคนในปี ค.ศ. 1987 เป็น 3.2 พันล้านคนในปี ค.ศ. 2000 เมื่อกล่าวเฉพาะในเมืองต่างๆของประเทศโลกที่ 3 นั้น พอถึงปี ค.ศ. 2000 จะมีคนเข้าไปอาศัยอยู่ในเมืองราว 2 พันล้านคนเลยทีเดียว ในปี ค.ศ. 2000 อีกเช่นเดียวกัน นครเม็กซิโกซิตี้ถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะมีประชากรมากถึง 31 ล้านคน ที่ประเมินไว้นี้อาจจะมากหรือน้อยเผื่อเหลือเผื่อขาดเอาไว้แล้ว แต่ที่แน่ๆก็คือว่า จะมีคนจากชนบทหลั่งไหลเข้าไปอยู่ในศูนย์กลางของเมืองต่างๆของประเทศโลกที่ 3 โดยมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนและจะเป็นอย่างนี้เรื่อยไปในอนาคต
การอพยพของประชากรนับเป็นร้อยๆล้านคนในแถบละตินอเมริกา แถบเอเชีย และแถบแอฟริกา จากถิ่นที่อยู่เดิมของตนในชนบทเข้าไปอยู่ในเมืองใหญ่ๆและในสภาพแวดล้อมแบบเมือง วิกฤติการณ์ของเมืองในโลกที่ 3 นี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นผลผลิตของการเติบโตของประชากรจนเกิดล้นประเทศขึ้นมา และเกิดจากความไม่สามารถของคนจำนวนมากๆที่จะเลี้ยงชีพอยู่ในพื้นที่ชนบทได้ หรือหากพวกเขาจะอยู่ในชนบทต่อไปก็จะต้องทนอยู่กับมาตรฐานการครองชีพที่ต่ำๆ และคนพวกนี้ก็มีความใฝ่ฝันอยากจะเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นก็จึงได้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้าไปยังพื้นที่ในเมืองเพื่อหางานทำ ถึงแม้ว่าศูนย์กลางของเมืองต่างๆจะไม่อยู่ในฐานะที่จะรองรับคนที่หลั่งไหลเข้ามามากมายอย่างนี้ได้แต่ก็ไม่สามารถจะหยุดยั้งพวกที่อพยพเข้าไปนี้ได้ การเติบโตของประชากรของประเทศกลุ่มโลกที่ 3 ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนี้ ก่อให้เกิดปัญหาหนักหน่วงรุนแรงให้แก่ฝ่ายปกครองของเมืองนั้นๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มิใช่ว่าจะมีแต่เฉพาะในเรื่องของอาชีพเท่านั้นแต่ก็ยังมีเรื่องอื่นๆด้วย เป็นต้นว่า การทิ้งขยะ การขนส่ง การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การสุขอนามัย และการให้บริการปัจจัยพื้นฐานต่างๆให้แก่คนหลายล้านคน กล่าวคือ น้ำประปา อาหาร เป็นต้น
ความสำคัญ การอพยพของคนจากชนบทเข้าไปสู่เมืองต่างๆ ที่ค่อยเป็นค่อยไปแต่มีความต่อเนื่องโดยใช้เวลาหลายศวรรษได้กลายเป็นปัญหาหนักอกสำหรับประเทศในโลกที่ 3 บางประเทศ เมื่อปี ค.ศ. 1987 เมืองต่างๆทั่วโลกที่มีประชากรมากกว่า 5 ล้านคนมีจำนวน 29 เมือง แต่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประชากรศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่า เมื่อถึงปี ค.ศ. 2000 เมืองที่มีประชากรมากกว่า 5 ล้านคนจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 59 เมือง จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในศูนย์กลางของเมืองต่างๆจะเพิ่มขึ้นมาในช่วงเดียวกันนี้ถึง 77 เปอร์เซ็นต์ กล่าวคือ จากจำนวน 1.8 พันล้านคนในปี ค.ศ. 1987 เป็น 3.2 พันล้านคนในปี ค.ศ. 2000 เมื่อกล่าวเฉพาะในเมืองต่างๆของประเทศโลกที่ 3 นั้น พอถึงปี ค.ศ. 2000 จะมีคนเข้าไปอาศัยอยู่ในเมืองราว 2 พันล้านคนเลยทีเดียว ในปี ค.ศ. 2000 อีกเช่นเดียวกัน นครเม็กซิโกซิตี้ถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะมีประชากรมากถึง 31 ล้านคน ที่ประเมินไว้นี้อาจจะมากหรือน้อยเผื่อเหลือเผื่อขาดเอาไว้แล้ว แต่ที่แน่ๆก็คือว่า จะมีคนจากชนบทหลั่งไหลเข้าไปอยู่ในศูนย์กลางของเมืองต่างๆของประเทศโลกที่ 3 โดยมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนและจะเป็นอย่างนี้เรื่อยไปในอนาคต
Subscribe to:
Posts (Atom)