Google

Tuesday, October 6, 2009

Democratic Cycle : Stage Two

วงจรทางประวัติศาสตร์ : ขั้นตอนที่ 2

แบบของวงจรทางประชากรศาสตร์ที่มีลักษณะพิเศษ คือ ประชากรล้นประเทศ ในขั้นตอนที่ 2 นี้ อัตราการเกิดจะสูงแต่อัตราการตายจะลดลงมาก ซึ่งก็จะส่งผลให้การเจริญเติบโตของประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว อธิบายความได้ว่า เมื่ออัตราการตายของคนในวัยทารกลดลงมากๆก็จะส่งผลให้มีคนในวัยหนุ่มสาวเพิ่มขึ้นมามาก เมื่อมีคนในวัยหนุ่มสาวมากเช่นนี้ก็จะส่งผลต่อไปให้มีการผลิตลูกขึ้นมามาก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วอัตราเพิ่มของคนตามธรรมชาติก็จะสูงตามขึ้นไปด้วย แต่เนื่องจากว่าอายุขัยของคนมิได้เพิ่มขึ้นมาแต่อย่างใดจึงมีแนวโน้มว่าสังคมจะประกอบไปด้วยคนหนุ่มคนสาวแทบทั้งนั้น อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีชนิดเดียวกันที่ได้ช่วยสร้างสังคมให้เป็นอุตสาหกรรมนั้น ก็จะเป็นตัวการไปทำให้ประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นมา โดยจะไปทำให้อัตราการตายลดลงมาเรื่อยๆทั้งนี้เพราะได้มีการปรับปรุงด้านยารักษาโรคและด้านสุขอนามัยนั่นเอง

ความสำคัญ ขั้นที่ประชากรล้นประเทศ หรือขั้นตอนที่ 2 ของวงจรทางประชากรศาสตร์นี้ เมื่อผนวกเข้ากับการเกิดการปฏิวัติทางด้านการคาดหวังสูงขึ้นๆด้วยแล้วนี้ ก็ยิ่งประกอบกันเข้าเป็นปัญหาที่รุนแรงทั้งในระดับชาติและในระดับนานาชาติเลยทีเดียว ผู้คนในประเทศต่างๆเหล่านี้มิใช่ว่าจะมีเฉพาะคนที่เรียกร้องสิ่งดีๆให้แก่ชีวิตมากยิ่งกว่าแต่ก่อนเท่านั้น แต่ยังมีพวกที่ต้องการจะให้รีบเร่งปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้นซึ่งพวกนี้ก็มีมากกว่าแต่เดิมอีกเหมือนกัน เมื่อเส้นเคิร์ฟการคาดหวังของคนเหล่านี้ขึ้นสูงรวดเร็วกว่าเส้นเคิร์ฟของสิ่งที่พวกเขาได้รับการตอบสนอง ก็จึงได้เกิดช่องว่างระหว่างเส้นทั้งสองนี้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น”ช่องว่างของความไม่สมหวัง”ก็น่าจะได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการที่มีประชากรเพิ่มขึ้นมาพร้อมๆกับที่การคาดหวังของคนเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้นมาในขณะเดียวกันนี้ ก็จะก่อให้เกิดสภาวะการตึงตัวระหว่างทรัพยากรที่มีอยู่กับสิ่งที่รัฐบาลจะต้องจัดหาให้ตามความเรียกร้อง ซึ่งรัฐบาลเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วก็คือรัฐบาลของรัฐที่เกิดใหม่และยังขาดประสบการณ์นั่นเอง ปัญหาและความข้องขัดใจที่เป็นผลมาจากประเด็นนี้ก็คือ (1) เกิดความตึงเครียดความสับสนวุ่นวายภายในเพิ่มขึ้นและมีรัฐประหารบ่อยครั้งชึ้น (2) มีการปฏิบัติการระหว่างประเทศที่ขาดความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นเพื่อเบี่ยงเบนมวลชน(เป็นการชั่วคราว) จากปัญหาภายในประเทศ และ(3) มีการบีบประเทศพัฒนาแล้วให้มาช่วยเหลือในแผนพัฒนาประเทศในปริมาณมากๆแต่ก็ทำด้วยความระมัดระวังเพื่อมิให้เป็นการไปกระตุ้นคนในประเทศให้ต่อต้านประเทศที่ให้ความช่วยเหลือเหล่านี้ในขณะเดียวกันนั้นด้วย ช่องว่างระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาก็จะขยายกว้างออกไปมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศติดตามมา แต่ด้วยเหตุที่คนอยู่ในวัยทำงานมีจำนวนลดลงตั้งแต่แรกเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ดังนั้นคนที่จะทำงานเพื่อผลผลิตมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้นได้นั้นก็จะต้องทำงานหนักกว่าพวกที่อยู่ในวงจรประชากรศาสตร์อีก 2 ขั้นตอนนั้น นอกจากนี้แล้วคนหนุ่มคนสาวที่หางานทำไม่ได้จะมีสัดส่วนสูงขึ้นมากในสังคมขั้นตอนที่ 2 นี้ ซึ่งก็จะเป็นตัวการไปเพิ่มระดับความตึงเครียดและแรงผลักดันให้เกิดการปฏิวัติขึ้นมาได้

No comments:

Post a Comment