Google

Tuesday, October 6, 2009

Geographic Power Factor : Climate

ปัจจัยพลังอำนาจทางภูมิศาสตร์ : ภูมิอากาศ

ผลของสภาวะทางอากาศที่มีต่อพลังอำนาจชาติ สภาวะทางอากาศของรัฐหนึ่งรัฐใดส่วนใหญ่แล้วจะถูกกำหนดโดยลักษณะของลม ความเร็วของลม และอุณหภูมิของอากาศเป็นหลัก ในทางประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เราได้เห็นว่า การที่จะพัฒนาพลังอำนาจชาติให้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้นั้นจะทำได้เฉพาะในชาติที่อยู่ในภูมิภาคซึ่งมีสภาวะทางอากาศอย่างกลางๆพอสบายๆไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดนัก สภาวะทางอากาศที่ผิดแผกไปจากนี้มีทางเอาชนะได้ก็พอมีบ้าง แต่ถ้าเป็นกรณีที่สภาวะทางอากาศเป็นแบบสุดโต่งคือจ้อนจัดและหนาวจัดเสียแล้ว ชีวิตมนุษย์จะดำรงอยู่ได้ในสภาวะอากาศเช่นนี้ได้ ก็จำเป็นต้องใช้พลังงานและทรัพยากรมนุษย์สิ้นเปลืองมากกว่ากรณีที่อยู่ในภูมิภาคซึ่งมีภูมิอากาศแบบกลางๆ

ความสำคัญ ภูมิอากาศน่าจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในบรรดาองค์ประกอบอำนาจทางภูมิศาสตร์ เพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อขีดความสามารถของสังคมที่จะทำการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร และประกอบกิจการงานต่างๆ ผลของภูมิอากาศสามารถเปลี่ยนแปลงได้บ้างเหมือนกันแต่ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผืนแผ่นดินมีสภาพแห้งแล้งขาดฝน ก็อาจใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยได้ ส่วนในกรณีที่น้ำมีความเค็มใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกไม่ได้ ก็ใช้วิธีกลั่นให้เป็นน้ำจืดเสียก่อนอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งวิธีการทั้งสองอย่างนี้จะทำให้สามารถเอาชนะอุปสรรคในเรื่องขาดแคลนน้ำฝนได้ นอกจากนี้แล้วเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสามารถปรับปรุงสภาพการทำงานในภูมิภาคต่างๆที่มีอากาศหนาวเย็นมากๆของโลกได้อีกเหมือนกัน อย่างเช่นเดี๋ยวนี้ได้มีการพัฒนาธัญพืชและสัตว์ที่จะนำมาใช้เป็นอาหาร ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สามารถทนทานต่ออุณหภูมิที่หนาวจัดหรือร้อนจัดได้ นอกจากนี้แล้วก็ยังมีการควบคุมโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มีการปรับปรุงโภชนาการ มีการใช้ทักษะทางเทคโนโลยีใหม่ๆ และมีการจัดตั้งกองทุนการพัฒนาขึ้นมา ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นนี้ได้ช่วยเสริมพลังของมนุษย์ในประเทศเขตเมืองร้อนที่ครั้งหนึ่งภูมิภาคในเขตนี้ทำให้คนเชื่อยชา ให้กลายมาเป็นคนกระฉับกระเฉง สามารถเพิ่มผลผลิตต่างๆมากยิ่งขึ้น ไม่อยู่ในระดับพอเป็นเครื่องยังชีพเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว ภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อกิจกรรมมนุษย์มากที่สุดก็คือ ภูมิอากาศในเขตที่เป็นกลางๆอยู่ในระหว่างเส้นองศาเหนือและใต้ที่ 20 ของเส้นศูนย์สูตร ประมาณการณ์กันว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินของโลก 75 เปอร์เซ็นต์ของผืนดินที่เป็นที่พำนักอาศัย และ 9 เปอร์เซ็นต์ของประชากรของโลก ล้วนแต่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาทั้งนั้น ซึ่งในข้อนี้ก็ช่วยอธิบายให้เราได้เข้าใจว่าเพราะเหตุใดในเขตปานกลางเหนือจึงยังคงมีบทบาทโดดเด่นบนเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

No comments:

Post a Comment